Ads

วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

ประเทศในอาเซียน ได้รับเอกราช จากตะวันตก วันไหน ปีไหนบ้าง

 


ประเทศในอาเซียน ได้รับเอกราช จากตะวันตก วันไหน ปีไหนบ้าง

  เป็นที่รู้กันว่า  ประเทศในอาเซียนทั้งหลายนั้น เคยตกเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตก เกือบทั้งหมด

ยกเว้นไทย บางชาตินั้นก็เข้าเป็นรัฐในอารักขา ก็มีบ้างส่วนบางประเทศก็ถูกตีเข้ายึดก็มี การต้องตก

เป็นอาณานิคมของฝรั่งนั้น แน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องที่คนพื้นเมืองชื่นชอบนัก และพยายามต่างๆนานา 

เพื่อจะให้ตัวเอง หลุดพ้นจากการควบคุมของเจ้าอาณานิคม วันนี้เราไมได้มาลงว่าพวกเขาทำอย่างไร 

เราจะมาลงข้อมูล วันเวลา ช่วงปี ที่เขาสามารถ ประกาศเอกราชให้ตัวเองได้ พร้อมข้อมูลอีกนิดหน่อย

เพราะว่าเวลาเราค้นหาช่วงวันเวลา มันจะได้ไม่ดูเยอะต้องมานั่งหากวาดตาหา เอาข้อมูลดิบๆที่ต้องการ

สื่อเลย เชื่อสิบางคนต้องการแค่วัน ปี ไม่ได้ต้องการอะไรมากมาย


เพราะต้องใช้ประกอบข้อสอบ การบ้าน หรืออ้างอิงเวลา ตอนที่ไปแสดงความเห็นให้ข้อมุลต่างๆอีก 

 อะ มาเริ่มกัน


เอกราช


1. ไทย : ไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของใคร ตรงตามความหมายของชื่อประเทศ ไทย คือ เสรีภาพ 



2. ฟิลิปปินส์  : หลุดพ้นจากการครอบครองของสเปน เมื่อ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1898 (พ.ศ. 2441) 

เนื่องจากสหรัฐชนะสงครามกับสเปน แต่ ฟิลิปปินส์ก็ต้องตกอยู่ใต้อำนาจสหรัฐอีกต่อนึง

อยู่ภายใต้การปกครองของสหรัฐอเมริกา 1898-1946 ระยะเวลา 48 ปี ก่อนจะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 

ทำให้ญี่ปุ่นเขายึกฟิลิปปินส์แทน ถ้านับวันที่ได้รับเอกราช จะนับจากการที่หลุดพ้นจาก

สเปนในวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1898 (พ.ศ. 2441)



3. อินโดนีเซีย : ได้รับเอกราชวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 1949 ( 2492 ) จากเนเธอร์แลนด์ เพราะญี่ปุ่น

ได้เข้ายึดอินโดจาก เนเธอร์แลด์ แต่ท้ายที่สุดญี่ปุ่นแพ้สงคราม ทำให้อินโดนั้น ประกาศเอกราชทันที 

ในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ.2488 โดยมี ซูการ์โน เป็น ประธานาธิบดีคนแรก* ของประเทศเป้นผู้นำ 

แต่ก็มีการต่อสู้กันอย่างหนักเพราะเนเธอร์แลนด์ไม่ยอมให้อินโดนีเซีย ได้เอกราช จนต้องเจรจาหา

ข้อตกลงกันหลายครั้ง จนมาสรุป ในวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2492 อินโดนีเซียจึงได้รับเอกราชจาก

เนเธอร์แลนด์ เนื่องจากสหประชาชาติกดดัน 



4. มาเลเซีย : ได้รับเอกราชวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1957 ( พ.ศ. 2500 ) หลังจาก สงครามโลก

ครั้งที่สอง นั้น อังกฤษ ก็ยังเข้าไปควบคุม ดินแดนมาลายา และ มะละกะ อย่างเข้มงวดกว่าก่อน 

ทำให้คนท้องถิ่นเกิดกระด้างกระเดื่อง ไม่พอใจเกิดการต่อต้านนำโดย ตนกู  อับดุล ราห์มาน 

นำผู้คนต่อต้านเพื่อประกาศเอกราชจากอังกฤษ จนสำเร็จในที่สุด ทำให้เขาได้ขึ้นมาเป็น นายกรัฐมนตรี

คนแรกของมาเลเซีย อีกด้วย



5. บรูไน : บรูไน ได้รับเอกราชในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1984 จากอังกฤษ เหมือนกับที่อื่นๆ เมื่อ 

ต้องตกเป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษ ผ่านญี่ปุ่นเข้ายึดครอง ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง 

ญี่ปุ่นแพ้สงคราม มีการคิดไว้ว่าจะเข้าร่วมกับ มาเลเซีย แต่โดนคัดค้าน ให้ไปรวมกับซาห์บา กับ 

ซาราวัค เพื่อตั้งประเทศใหม่แทน แต่เกิดความวุ่นวายจากกองทัพปลดแอกเสียก่อน 

จนอังกฤษต้องนำ ทหารกรูข่า เข้ามาดูแลความเรียบร้อยให้ ทำให้มาเลเซียตอนตั้งประเทศไม่มี

บรูไนรวมอยู่ด้วย ได้มีการเจรจาหารือ กันเกี่ยวกับเอกราชบรูไน จนในที่สุดก็ได้รับเอกราช

อย่างสมบูรณ์ ในวันที่ 1 มกราคม 1984



6. สิงคโปร์ ได้รับเอกราวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1965 จากอังกฤษ สิงคโปร์ทราบถึงว่าการได้รับ

เอกราชของมาเลเซีย ลีกวนยู ผู้นำของสิงคโปร์ตอนนั้น จึงรีบนำสิงคโปร์เข้าไปรวมกับสหภาพมลายา 

หรือมาเลเซียในปัจจุบันทันทีเพื่อที่จะได้รับเอกราชไปด้วย หลังจากรวมได้ 2 ปี เนื่องจากมาเลเซียนั้น

ค่อนข้างไม่ชอบเหยียมสิงคโปร์อยู่เนืองๆจึงบีบให้สิงคโปร์ต้องแยกตัวออกมาตั้งประเทศใหม่ ที่มีความ

เจริญก้าวหน้ากว่าใครในอาเซียน



7. กัมพูชา : ได้รับเอกราชวันที่ 9 พฤศจิกายน 1953 จากฝรั่งเศส โดยการเรียกร้องเอกราชของ 

พระนโรดม สีหนุ พระนโรดม สีหนุกลายเป็นวีรบุรุษของชาวกัมพูชา ได้รับเอกราชตามอนุสัญญาเจนีวา 



8. ลาว : ได้รับเอกราชวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 1975 จากการเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส กลุ่มคอมมิวนิสต์

หรือขบวนการประเทดลาวที่นำโดยเจ้าสุภานุวงศ์ พรรคประชาชนปฏิวัติลาว ประธานคนแรกของ

ประเทศลาว ที่ได้รับการสนับสนุนจาก สหภาพโซเวียต และ คอมเวียดนาม ได้ล้มล้างระบอบกษัตริย์

ของลาวและนำพาประเทศสู่ ชื่อประเทศชื่ออย่างเป็นทางการที่ว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

และได้ประกาศเอกราชจากฝรั่งเศสในวันเดียวกันด้วย ทุกวันที่ 2 ธันวาคมของทุกปีเป็นวันชาติ



9. เวียดนาม : ได้รับเอกราชวันที่ 2 กันยายน ปี 1945  เวียดนามประกาศเอกราช และได้สถาปนา

สาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนามอย่างเป็นทางการ นำโดย โฮจิมินห์ทำให้ฝรั่งเศสเข้าบุกเวียดนาม

อีกครั้ง ถึงจะยากลำบากแต่เวียดนามก็ต่อสู้จนฝรั่งเศสยอมถอยไปได้ทำให้เวียดนาม มีเอกราชอย่าง

สมบูรณ์  หลังตกเป็นอาณานิคมมาก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2



10. พม่า : ได้รับเอกราชวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2491 ได้รับเอกราชจากจักรวรรดิอังกฤษ จากการที่

รวมกันขอเอกราชจากอังกฤษ แล้วโดน นายพลเนวิน หักหลังนำมาสู่ปัญหามากมายของชนกลุ่มน้อย

ที่รวมกันในตอนแรกจนเป็นปัญหามาถึงทุกวันนี้ พม่าก็ไม่เคยสงบอีกเลย ทั้งสงครามกลางเมือง 

เผด็จการ ต่างๆนานาๆ





วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

ทำเนียบแชมป์ฟุตบอลอาเซียนคัพ AFF

 


ทำเนียบแชมป์ฟุตบอลอาเซียนคัพ AFF

ทำเนียบแชมป์ฟุตบอลอาเซียนคัพ AFF

ฟุตบอลถือเป็นกีฬายอดนิยม แทบจะทุกประเทศในอาเซียน ยกเว้น ฟิลิปปินส์ 

แต่กีฬาชาวอาเซียนเก่งระดับโลก นั้นไม่ใช่ฟุตบอลอย่างแน่นอน แต่ถึงกระนั้น

เวลามีการแข่งขันอย่างฟุตบอลซีเกมส์ หรือ ฟุตบอลชิงแชมป์อาเซียน ชาวอาเซียน

ก็เกิดความตื่นตัว คึกคักกันอย่างบ้าคลั่งเลยทีเดียว ตามข้อมูลนั้น ในอาเศียนมีชาติเดียว

คือสิงคโปร์ที่นับว่าฟุตบอล เป็นกีฬาประจำชาติ ก็พอเข้าใจได้ว่าสิงคโปร์เป็นประเทศใหม่ 

ไม่เหมือนไทย มาเลเซีย อินโด ที่มี มวยไทย เคมโป คาราเต้ หรือ ปันจักสีลัต หม่ามี ชินลง

ที่เป็นกีฬาที่จำเพาะเจาะจงของแต่ละประเทศ 

              พูดถึง แชมป์อาเซียน ถึงอาเซียนเราจะมี 10 ประเทศ+ 1 ติมอร์ ที่เข้ามาร่วมแข่งด้วย

บางปีจากการคัดเลือก แต่มีเพียง แค่ 4 ประเทศเท่านั้นที่เคยสัมผัสถึงถ้วยแชมป์ โดยยิ่งใหญ่

ที่สุดไม่ใช่ใครทีไหน ไทยเรานี่เอง ที่เป็นแชมป์ 7 สมัย  สิงคโปร์ประเทศเล็กๆเกิดใหม่ และมี

กีฬาประจำชาติเป็นฟุตบอล ก็ได้มาถึง 4 สมัย เวียดนาม 2 สมัย และมาเลเซียยุคทองช่วงปี 2010  

อีก 1 สมัย อินโดนีเซียซึ่งเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน และผู้คนคลั้งไคล้ฟุตบอลไม่แพ้ใคร

กลับไม่เคยได้แชมป์เลย ใน 13 ครั้งแรก เป็นได้แค่พระรอง 6 สมัย ซึ่งเป็นความเจ็บปวดของ

ชาวอินโดอย่างมาก มาดูกันว่า อินโดนีเซียจะสามารถคว้าแชมป์ได้ในปีไหนมาติดตามกัน


ทำเนียบแชมป์ฟุตบอลอาเซียนคัพ AFF



1.  ปี  1996 ไทย : 1-0 มาเลเซีย   ( เจ้าภาพ สิงคโปร์ )


2.  ปี  1998 สิงคโปร์  : 1-0 เวียดนาม   ( เจ้าภาพ เวียดนาม )


3.  ปี  2000 ไทย :  4-1 อินโดนีเซีย    ( เจ้าภาพ ไทย )


4.  ปี  2002 ไทย :   2-2 (จุดโทษ 4-2) อินโดนีเซีย   ( เจ้าภาพ อินโดนีเซีย / สิงคโปร์ )


ตั้งแต่ปี 2004 เป็นต้นไป จะมีเจ้าภาพรอบแบ่งกลุ่มเท่านั้น ส่วนรอบรอง และชิง เตะแบบเหย้าเยือน 

2 นัด เว้นปี 2018 ที่มีการแข่งแบบใหม่ ไม่มีเจ้าภาพรอบแบ่งกลุ่มแต่จะสุ่ม เตะนักเหย้า 2 นัด เยือน 

2 นัด 4เกม ในรอบแบ่งกลุ่ม ทั้งหมด 5 ทีม 

ง่ายๆ คือ ในรอบแบ่งกลุ่ม 4 นัด ทุกทีมจะได้เป็นเจ้าบ้าน 2 นัด เยือน 2 นัดแล้วแต่ดวงว่า นัดเป็น

เจ้าบ้านเจอใคร นัดเป็นทีมเยือนเจอใคร ส่วนรอบ รองและชิง นั้นเตะแบบเหย้าเยือนเหมือนปกติ 

รอบละ 2 นัด ส่วนปี 2020 นั้นความจริงคือเตะกันปลายปี 2021


     เนื่องจากสถานการณ์ไวรัสโควิด19 จากปี 2019 ทำไมโรคระบาดลากยาวมาเนิ่นนานจนได้แข่ง

ช่วงปลายปี 2021 แล้วจากเดิมที่ต้องเริ่มปี 2020


5.  ปี  2004 สิงคโปร์ :   3-1 / 2-1 อินโดนีเซีย   ( เจ้าภาพ มาเลเซีย / เวียดนาม )


6.  ปี  2007 สิงคโปร์ :   2-1 / 1-1 ไทย   ( เจ้าภาพ สิงคโปร์ / ไทย )


7.  ปี  2008 เวียดนาม : 2-1 / 1-1 ไทย  ( เจ้าภาพ อินโดนีเซีย / ไทย  )


8.  ปี  2010 มาเลเซีย :   3-0 / 1-2  อินโดนีเซีย ( เจ้าภาพ อินโดนีเซีย / เวียดนาม  )


9.  ปี  2012 สิงคโปร์ :    3-1 / 0-1  ไทย  ( เจ้าภาพ มาเลเซีย / ไทย )


10.  ปี  2014 ไทย :    2-0 / 2-3  มาเลเซีย  ( เจ้าภาพ สิงคโปร์ / เวียดนาม )


11.  ปี  1016 ไทย :   1-2 / 2-0  อินโดนีเซีย  ( เจ้าภาพ พม่า / ฟิลิปปินส์ )


12.  ปี  2018 เวียดนาม :    2-2 / 1-0  มาเลเซีย ( เจ้าภาพ รอบแรกเจ้าภาพสุ่มทีมในกลุ่ม )


13.  ปี  2020 ไทย :    4-0 / 2-2  อินโดนีเซีย ( เจ้าภาพ  สิงคโปร์ )


14.  ปี  2022 ไทย :   2-2 / 1-0  เวียดนาม   ( เจ้าภาพ รอบแรกเจ้าภาพสุ่มทีมในกลุ่ม )



วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

กษัตริย์พระองค์สุดท้ายของกลุ่มประเทศ CLMV อาเซียน

 



กษัตริย์พระองค์สุดท้ายของกลุ่มประเทศ CLMV อาเซียน

กษัตริย์พระองค์สุดท้ายของกลุ่มประเทศ CLMV อาเซียน


ประเทศ CLMV


กษัตริย์พระองค๋สุดท้ายของกลุ่มประเทศ CLMV อาเซียน


CLMV ย่อมาจาก ชื่อประเทศในกลุ่มคือ กัมพูชา (Cambodia)- ลาว (Laos) - เมียนมาร์ (Myanmar) -

 เวียดนาม (Vietnam)



กัมพูชา (Cambodia) = เขมรยังมีพระมหากษัตริย์อยู่ เป็นราชอาณาจักร โดยกษัตริย์องค์ปัจจุบัน

คือ พระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี ผู้นำเชิงสัญลักษณ์ซึ่งได้รับความเคารพจากสาธารณชน

เริ่มวาระ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2547 เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ




ลาว (Laos) = สมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวัฒนา  หรือ เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนาเป็นพระมหากษัตริย์

องค์สุดท้ายแห่งราชอาณาจักรลาว ก่อนที่จะสละราชสมบัติ หลังพรรคประชาชนปฏิวัติลาวเข้ากุมอำนาจ

รัฐสำเร็จ (คอมมิวนิสต์ลาว) ยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ใน พ.ศ. 2518     ครองราชย์ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2502 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2518 

หลังจากพระองค์สละราชสมบัติประเทศลาวก็อยู่ในระบอบการปกครองสังคมนิยม

 มีพรรคปฏิวัติประชาชนลาว(The Lao People’s Revolutionary Party : LPRP) หรือพักลัด 

เป็นพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียว 




เมียนมาร์ (Myanmar) = พระเจ้าธีบอ หรือ พระเจ้าสีป่อ พระมหากษัตริย์พม่าพระองค์สุดท้ายแห่ง

ราชวงศ์คองบอง ถูกบังคับให้สละราชสมบัติและเนรเทศไปอยู่ที่เมืองรัตนคีรีในบริติชราช หลังสิ้นสงคราม

อังกฤษ - พม่าครั้งที่สาม และสวรรคตเมื่อ พ.ศ. 2459

ปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์คองบองคือ พระเจ้าอลองพญา ล่วงเลยมาจน พระมหากัษริย์พระองค์สุดท้าย

เพียงแค่ 11 รัชกาลเท่านั้น พระเจ้าธีบอ เสียเมืองแก่อังกฤษ ถูกเนรเทศไปอินเดียและสวรรคตที่นั่น

ครองราชย์  1 ตุลาคม พ.ศ. 2421 – 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428 (7 ปี 58 วัน)  หลังจาก มัณฑะเลย์

ถูกอังกฤษยึดในวันที่ 28 พฤศจิกายน พระเจ้าสีป่อและพระนางศุภยาลัตยอมแพ้

ทั้งสองพระองค์เสด็จลงเรือไปยังย่างกุ้งและถูกเนรเทศไปอินเดีย ประทับที่รัตนคีรีในบริติชราช  

และสวรรคตเมื่อ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2459 พระศพของพระองค์ฝังไว้ใกล้ ๆ สุสานของชาวคริสต์

นับเป็นการสิ้นสุดระบอบกษัติรย์ของพม่าตั้งแต่นั้นเป้นตันมา ( 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428 )




เวียดนาม (Vietnam) = จักรพรรดิบ๋าว ดั่ย พระนามเดิมว่า เหงียน ฟุก หวิญ ถวิ ทรงเป็นจักรพรรดิองค์ที่ 13

และพระองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์เหงียน ตั้งแต่ ค.ศ. 1926 - ค.ศ. 1945

ทรงสถาปนาจักรวรรดิเวียดนามในขณะที่ญี่ปุ่นยึดครองอินโดจีนในสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งตอนนั้น

เวียดนามเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสอยู่ก่อน ต่อมาได้ทรงสละราชสมบัติและมอบอำนาจให้โฮจิมินห์ 

อันเป็นจุดจบของระบอบราชาธิปไตยของเวียดนาม

ในวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1945 แต่กลับขึ้นสู่อำนาจอีกครั้ง และโดนขับออกจากอำนาจอีก ต้องไปศึกษา

รายละเอียดลึกๆเพราะมีเรื่องการประกาศอิสระ และพรรคคอม เวียดนาม หุ่นเชิดตะวันตก นานา

หลายอย่างอยู่ลองหาอ่านดูน่าสนใจมาก











วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

ประเทศ CLMV

 


ประเทศ CLMV

ประเทศ CLMV

ประเทศ CLMV


ประเทศ CLMV คือชื่อเรียกแทนกลุ่มประเทศที่ มีตัวอักษร ทั้ง 4 ตัวนั้น คือ


C = China  จีน


L = Latvia ลัตเวีย


M = Macedonia มาซีโดเนีย ตอนนี้เป็น นอร์ท มาซิโดเนีย


V = Venezuela เวเนซูเอล่า 


โว้ยยย ข้างบนหนะใช่ที่ไหนเล่า หยอกๆๆ ไม่ใช่เด้อ อันบนนั้นขำขำนะอย่าไปเชื่อ


CLMV ย่อมาจาก ชื่อประเทศในกลุ่มคือ




C = กัมพูชา (Cambodia)




L = ลาว (Laos)




M = เมียนมาร์ (Myanmar)




V = เวียดนาม (Vietnam)




เป็นกลุ่มประเทศ ในเขตอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Great Mekong Subregion: GMS) หรือ 


ถ้าจะมีไทยไปด้วยก็จะเป็น CLMVT


กลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน (CLMV) ที่นับก็คือ อาเซียน ตอนบน ลุ่มแข่น้ำโขงทั้งหลาย


จัดเป็นกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านและเป็นคู่ค้าที่สำคัญของไทยในอาเซียน 


จากการสังเกตุคือ ทั้ง 4 ประเทศนี้ ชื่ออย่างเป็นทางการ นั้นจะไม่เหมือนกันเลย ไม่ใช่ราชอาณาจักร 

ซ้ำ หรือ สาธารณรัฐ



สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  (Lao People’s Democratic Republic )


ราชอาณาจักรกัมพูชา (  Kingdom of Cambodia )


สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า ( Republic of the Union of Myanmar )


สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ( Socialist Republic of Vietnam )


ลาวนั้น เป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตย ในแบบการปกครองของเขาแหละ มีพักลัดพรรคเดียวเป็น

พรรคบริหารประเทศ


เวียดนามนั้นสังคมนิยม จ๋ามาทั้งรูปแบบและชื่อประเทศ


พม่านั้นก็ สหภาพ รวมหลายเชื้อชาติเผ่าพันธ์ ในประเทศเดียว


เขมรนั้น เป็นราชอาณาจักร แต่นายกมีอำนาจล้นฟ้าล้นเมือง


อิทธิพลด้านการค้าและการลงทุนของ “จีน” ในกลุ่มประเทศ CLMV ก็มีมากขึ้นเข้ามาแทรกแซงใน

การปกครอง หลายประเทศเช่นกัน  แต่ไทยเราก็ยังรักษาฐานโดยเฉพาะสินค้าที่มีคุณภาพไว้ได้อย่างดี

ในกลุ่มประเทศ CLMV จัดได้ว่าไทยเรานั้นเป็นศูนย์กลางที่รายล้อมด้วยกลุ่มนี้ ที่ต้องบริหารงานให้ดี

และติดต่อค้าขายรวมไปถึงด้านความมั่นคงเป็นสำคัญอีกด้วย เพราะในกลุ่มประเทศเหล่านี้นั้น โดนจีน

เข้ามามีอำนาจอยู่สุงมาก



วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

สนามบินนานาชาติ ประเทศอาเซียน

 


สนามบินนานาชาติ ประเทศอาเซียน


ท่าอากาศยานนานาชาติ ประเทศอาเซียน

สนามบินนานาชาติ ประเทศอาเซียน


1. สนามบินนานาชาติ : ประเทศไทย

ปฎิ

- ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 


- ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานดอนเมือง ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศไทย


- ท่าอากาศยานนานาชาติเบตง


- ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่


- ท่าอากาศยานนานาชาติแม่ฟ้าหลวง เชียงราย


- ท่าอากาศยานนานาชาติหาดใหญ่


- ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต


- ท่าอากาศยานนานาชาติสมุย


- ท่าอากาศยานนานาชาติกระบี่


- ท่าอากาศยานนานาชาติสุราษฎร์ธานี


- ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา (ระยอง–พัทยา)


- ท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี :


- ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี




2. สนามบินนานาชาติ : ประเทศลาว


- ท่าอากาศยานนานาชาติอัตตะปือ Attapeu International Airport ตั้งอยู่ที่เมืองไชยเชษฐา แขวงอัตตะปือ 


- ท่าอากาศยานสะหวันนะเขต Savannakhet Airport


- ท่าอากาศยานนานาชาติหลวงพระบาง Luang Prabang International Airport


- ท่าอากาศยานนานาชาติปากเซ Pakse International Airport


- ท่าอากาศยานนานาชาติวัตไต Wattay International Airport ในเวียงจันทน์ ซึ่งอยู่ห่างจากใจ

            กลางเมือง 3 กม. 




3. สนามบินนานาชาติ : ประเทศกัมพูชา


- ท่าอากาศยานนานาชาติพนมเปญ Phnom Penh International Airport เป็นท่าอากาศยานหลัก

            ของกัมพูชา ตั้งอยู่ห่างจากใจกลางกรุงพนมเปญ มีชื่อเดิมว่า "ท่าอากาศยานนานาชาติโปเชนตง"

            Pochentong International Airport


- ท่าอากาศยานนานาชาติเสียมราฐ Siem Reap International Airport ถ้าอ่านแบบเขมรจะอ่าน

            เสียมราฐ เป็นเสียมเรียบ


- ท่าอากาศยานนานาชาติจังหวัดพระสีหนุ Sihanouk International Airport เป็นที่รู้จักกันในชื่อ 

            ท่าอากาศยานกองเกง




4. สนามบินนานาชาติ : ประเทศเวียดนาม



- ท่าอากาศยานนานาชาติเกิ่นเทอ Can Tho International Airport เป็นท่าอากาศยานในเมืองเกิ่นเทอ

            ประเทศเวียดนาม


- ท่าอากาศยานนานาชาติดานัง Da Nang International Airport ใช้งานร่วมกับกองทัพอากาศเวียดนาม


- ท่าอากาศยานนานาชาติก๊าตบี Cat Bi International Airport เป็นท่าอากาศยานในเมืองไฮฟอง 

            เมืองที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ในเวียดนาม


- ท่าอากาศยานนานาชาติโหน่ยบ่าย Noi Bai International Airport ท่าอากาศยานที่ใหญ่ที่สุด

            ในเวียดนามตอนเหนื และอันดับที่ 2 ในเวียดนามอ บริเวณเมืองหลวงฮานอย ตั้


- ท่าอากาศยานนานาชาติเตินเซินเญิ้ต Tan Son Nhat International Airport เป็นท่าอากาศยาน

            นานาชาติที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนาม ตั้งอยู่ในนครโฮจิมินห์


- ท่าอากาศยานนานาชาติฟู้บ่าย Phu Bai International Airport ตั้งอยู่ทางใต้ของเมืองเว้ เมืองหลวง

            เก่าของประเทศเวียดนาม เมืองเว้เป็นทั้งเมืองดัง และ หมู่โบราณสถานเมืองเว้ มรดกโลก ของ

            เวียดนามอีกด้วย


- ท่าอากาศยานนานาชาติกามซัญ Cam Ranh International Airport อยู่ใกล้กับอ่าวกามซัญในเมืองกามซัญ 

            จังหวัดคั้ญฮหว่า 


- ท่าอากาศยานนานาชาติฟู้โกว๊ก Phu Quoc International Airport บนเกาะฟู้โกว๊ก ในเขตจังหวัด

            เกียนซางทางภาคใต้ของประเทศเวียดนาม เป็นเกาะที่ประจันหน้าอยู่หน้าดินแดนกัมพูชา 

            เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุด ของประเทศเวียดนาม


- ท่าอากาศยานนานาชาติหวั้นด่อน Van Don International Airport จังหวัดกว๋างนิญ ประเทศเวียดนาม 

            ซึ่งเป็นที่ตั้งของอ่าวฮาลองมรดกโลก ตั้งอยู่ประมาณ 50 กม.


- ท่าอากาศยานนานาชาติวิญ Vinh International Airport ใช้งานเชิงพาณิชย์และการทหาร เคยเป็น

            ฐานทัพที่สำคัญของเวียดนาม 




5. สนามบินนานาชาติ : ประเทศเมียนมา


- ท่าอากาศยานนานาชาติมัณฑะเลย์ Mandalay International Airport เป็นท่าอากาศยานที่ใหญ่

            และทันสมัยที่สุดในประเทศ 


- ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้ง Yangon International Airport เป็นท่าอากาศยานนานาชาติแห่งหลัก

            ของพม่า 


- ท่าอากาศยานนานาชาติเนปยีดอ Naypyidaw International Airport


- ท่าอากาศยานนานาชาติหงสาวดี Hanthawaddy International Airport เป็นสนามบินนานาชาติ 

            ในเขตพะโค ห่างจากย่างกุ้ง นครเมืองที่ใหญ่ ของพม่าประมาณ 77 กม.




6. สนามบินนานาชาติ : ประเทศมาเลเซีย *จากข้อมูลในเว็บกระทรวงคมนาคมมาเลย์มี 6 แต่ข้อมูลจากเว็บ

อื่นๆ มี 8 และมากกว่านั้น ส่วนที่เราจะใช้คือ 8 นะคับ เพราะมีสนามบิน แห่งนึง ที่เคยเป็นมาก่อน เช่น 

Sultan Abdul Aziz Shah Airport เลยไม่ตัดออก และ Malacca International Airport ที่ในเว็บกระทรวงนั้น

ให้เป็นการบินภายในประเทศ แต่ว่า ในเว็บนอกให้เป็น สนามบินนานาชาติ ซึ่งเราก็อาจจะอนุมานว่า 

ข้อมูลในเว็บรัฐเขา อาจจะยังไม่อัพเดท หรือยังไงหรืออะไรเราไม่แน่ใจเลยจะใส่ไป 8 ชื่อก็แล้วกัน



- ท่าอากาศยานนานาชาติมะละกา Malacca International Airport รัฐมะละกา ประเทศมาเลเซีย


- ท่าอากาศยานสุลต่าน อับดุล อาซิซ ชาห์ Sultan Abdul Aziz Shah Airport เดิมชื่อท่าอากาศยาน

            นานาชาติสุบัง/สนามบินนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ มักเรียกกันว่าสนามบินสุบังหรือสุบังสกายพาร์ค

            เป็นสนามบินที่ตั้งอยู่ในสุบัง เขตเปตาลิง สลังงอร์ ประเทศมาเลเซีย


- ท่าอากาศยานนานาชาติปีนัง Penang International Airport รองรับการจราจรทางอากาศของปีนัง

            เพื่อเชื่อมต่อกับเมืองสำคัญต่างๆ ในอาเซียน


- ท่าอากาศยานนานาชาติลังกาวี Langkawi International Airport บนเกาะลังกาวี  


- ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ Kuala Lumpur International Airport ห่างจากตัวเมือง

            กัวลาลัมเปอร์ประมาณ 50 กิโลเมตร  ใช้เป็นท่าอากาศยานหลัก แทน ท่าอากาศยานสุลต่าน

            อับดุล อาซิส ซาห์ (ซูบัง) 


- ท่าอากาศยานนานาชาติโกตากีนาบาลู Kota Kinabalu International Airport ตั้งอยู่ในรัฐซาบาห์


- ท่าอากาศยานนานาชาติกูจิง Kuching International Airport ตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของ

            รัฐซาราวัก 


- ท่าอากาศยานนานาชาติเซนาย Senai International Airport เดิมชื่อท่าอากาศยานนานาชาติ

            สุลต่านอิสมาอิล ในเมืองเซนาย เขตคูไล ยะโฮร์ บริเวณใต้สุดของคาบสมุทรมาเลเซีย




7. สนามบินนานาชาติ : ประเทศสิงคโปร์


- ท่าอากาศยานชางงีสิงคโปร์  Singapore Changi Airport หรือเรียกโดยทั่วไปว่าสนามบินชางงี  

            ได้รับการลงคะแนนให้เป็นท่าอากาศยานที่ดีที่สุดในโลกในลำดับที่ 3 รอง สนามบินอินช็อน 

            และ สนามบินฮ่องกง


- ท่าอากาศยานเซเลตาร์ Seletar Airport เป็นสนามบินนานาชาติพลเรือนที่ให้บริการภาคตะวันออก

            เฉียงเหนือของสิงคโปร์ อยู่ห่างจากสนามบินชางงีซึ่งเป็นสนามบินหลักของประเทศไปทาง

            ตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 16 กิโลเมตร




8. สนามบินนานาชาติ : ประเทศบรูไน


- ท่าอากาศยานนานาชาติบรูไน Brunei International Airport เป็นท่าอากาศยานหลักของประเทศบรูไน  

            และกองทัพอากาศบรูไนยังใช้เป็นที่ตั้งของฐานทัพอากาศ




9. สนามบินนานาชาติ : ประเทศฟิลิปปินส์  อยู่ใกล้ทะเลจีนใต้ ตะวันตก เป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทร

แปซิฟิกเหนือ 


- ท่าอากาศยานนานาชาติบาโคลอด-ซิเลย์ Bacolod–Silay International Airport เมืองสิเลย์ 

            ในจังหวัดเนกรอสทางตะวันตกของฟิลิปปินส์


- ท่าอากาศยานนานาชาติบีโคล Bicol International Airport ดารากา จังหวัดอัลเบย์


- ท่าอากาศยานนานาชาติโบโฮล–ปังเลา Bohol–Panglao International Airport หรือ ท่าอากาศยาน

            นานาชาติโบโฮลแห่งใหม่ เกาะปังเลา จังหวัดโบโฮล


- ท่าอากาศยานนานาชาติคากายันนอร์ท Cagayan North International Airport เป็นสนามบินที่

            ให้บริการพื้นที่ทั่วไปรองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษคากายัน 


- ท่าอากาศยานนานาชาติคลาร์ก Clark International Airport อยู่ห่างจากมะนิลาไปทางทิศตะวันตก

            เฉียงเหนือ 80 กิโลเมตร อยู่ในจังหวัดปัมปังกา


- ท่าอากาศยานนานาชาติฟรานซิสโกบังกอย Francisco Bangoy International Airport รู้จักทั่วไป

            ในชื่อ ท่าอากาศยานนานาชาติดาเบา บนเกาะมินดาเนา เกาะที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 2 ของประเทศ

            และมียอดเขาภูเขาอาโป ที่สูง 2,954 เมตร (9,692 ฟุต) ตั้งอยู่บนเกาะมินดาเนา อีกด้วย


- ท่าอากาศยานนานาชาติเฮเนรัลซันโตส General Santos International Airport ตั้งอยู่ที่เมือง

            เฮเนรัลซันโตส ประเทศฟิลิปปินส์ เป็นท่าอากาศยานที่มีขนาดใหญ่ที่สุดบนเกาะมินดาเนา


- ท่าอากาศยานนานาชาติอีโลอีโล Iloilo International Airport หรือ ท่าอากาศยานคาบาตูอัน 

            ตั้งอยู่ในจังหวัดอีโลอีโล ประเทศฟิลิปปินส์


- ท่าอากาศยานนานาชาติคาลิโบ Kalibo International Airport เมืองศูนย์กลางของจังหวัดอักลัน

            ประเทศฟิลิปปินส์


- ท่าอากาศยานนานาชาติลากูอินดิกัน Laguindingan International Airport เป็นสนามบินนานาชาติ

            ในมินดาเนาเหนือ


- ท่าอากาศยานนานาชาติลาวัก Laoag International Airport เป็นท่าอากาศยานเมืองลาวัก 


- ท่าอากาศยานนานาชาติมัคตัน - เซบู Mactan–Cebu International Airport สนามบินในเขตกิตนาง

            คาบีซายาอัน และเป็นสนามบินนานาชาติที่มีผู้โดยสารมากเป็นอันดับที่สองของประเทศ 

            เขตปริมณฑลเซบู 


- ท่าอากาศยานนานาชาตินินอย อากีโน่ Ninoy Aquino International Airport เป็นท่าอากาศยานหลัก

            ของประเทศฟิลิปปินส์ ในมะนิลาและเขตปริมณฑล


- ท่าอากาศยานนานาชาติปูเวร์โตปรินเซซา Puerto Princesa International Airport ท่าอากาศยาน

            ที่ตั้งอยู่ที่จังหวัดปาลาวันประเทศฟิลิปปินส์ ท่าอากาศยานนานาชาติโดยหน่วยงานการบินพลเรือน

            แห่งฟิลิปปินส์


- ท่าอากาศยานนานาชาติอ่าวซูบิก Subic Bay International Airport ตั้งอยูในเขตเมืองท่าปลอดภาษีอ่าวซูบิก 


- ท่าอากาศยานนานาชาติซัมบวงกา  Zamboanga International Airport เมืองซัมบวงกาซิตี ของเกาะมินดาเนา




10. สนามบินนานาชาติ : ประเทศอินโดนีเซีย อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน

 และเป็นหมู่เกาะมากมาย จึงมีสนามบินนานาชาติเยอะกว่าที่อื่นแบบเท่าตัวเลยทีเดียว


- ท่าอากาศยานนานาชาติฮูเซ็น ซัซตราเนอการา Husein Sastranegara International Airport เมืองบันดุง 

            จังหวัดชวาตะวันตก 


- ท่าอากาศยานนานาชาติบันยูวันงี Banyuwangi International Airport เมืองบันยูวันงี และพื้นที่โดยรอบ

            ในชวาตะวันออก อินโดนีเซีย


- ท่าอากาศยานนานาชาติฮาลิม เปอร์ดานากุสุมา  เป็นสนามบินนานาชาติในกรุงจาการ์ตา ตั้งชื่อตาม

            ฮาลิม เปอร์ดานากุสุมา ทหารอากาศชาวอินโดนีเซีย เป็นวีรบุรุษแห่งชาติของอินโดนีเซีย


- ท่าอากาศยานนานาชาติซูการ์โน- ฮัตตา Soekarno–Hatta International Airport เป็นท่าอากาศยาน

            หลักของกรุงจาการ์ตาและปริมณฑล ตั้งอยู่ในจังหวัดบันเตินบนเกาะชวาตั้งชื่อตามซูการ์โน

            ประธานาธิบดีคนแรก และโมฮัมมัด ฮัตตา รองประธานาธิบดีคนแรก


- ท่าอากาศยานนานาชาติเคอร์ทาจาติ Kertajati International Airport เป็นสนามบินในชวาตะวันตก

            ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งทำหน้าที่เป็นสนามบินนานาชาติแห่งที่สองสำหรับมหานครบันดุงและซิเรบอน


- ท่าอากาศยานนานาชาติอัคมัด ยานี General Ahmad Yani International Airport สนามบินในเขต

            เมืองเซอมารัง จังหวัดชวากลาง  ตั้งชื่อตาม  อัคมัด ยานี เป็นผู้บัญชาการกองทัพชาวอินโดนีเซีย 

            วีรบุรษของประเทศ


- ท่าอากาศยานนานาชาติจูวันดา Juanda International Airport เป็นสนามบินนานาชาติในตำบลเซอดาตี 

            อำเภอซีโดอาร์โจ จังหวัดชวาตะวันออก  ตั้งตามชื่อจูวันดา การ์ตาวีจายา อดีตนายกรัฐมนตรี

            อินโดนีเซียผู้ริเริ่มการพัฒนาสนามบินแห่งนี้


- ท่าอากาศยานนานาชาติอดิซูมาร์โม Adisumarmo International Airport เป็นสนามบินใน ชวากลาง

            ตั้งชื่อตาม Adi Sumarmo Wiryokusumo เป็นหนึ่งในวีรบุรุษของชาติอินโดนีเซีย ผู้บุกเบิกกองทัพ

            อากาศชาวอินโดนีเซีย


- ท่าอากาศยานนานาชาติอาดิสุคิปโต Adisucipto International Airport บนเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย  

            ตั้งชื่อตาม Agustinus Adisucipto เป็นนักบินคนแรกของกองทัพอากาศชาวอินโดนีเซีย


- ท่าอากาศยานนานาชาติอาดิสุคิปโตยอร์ค จาการ์ตาร์  Yogyakarta International Airport


- ท่าอากาศยานนานาชาติสุลต่านอิสกันดาร์ มูดา Sultan Iskandar Muda International Airport หรือ

            ที่เรียกว่าท่าอากาศยานนานาชาติบันดาอาเจะห์  ตั้งชื่อตามสุลต่านที่สิบสองแห่งอาเจะห์ 

            อิสกันดาร์ มูดา


- ท่าอากาศยานนานาชาติราดิน อินเตน ที่2 Radin Inten II International Airport ในเมืองบันดาร์ 

            ลัมปุง  ตั้งชื่อตามสุลต่านคนสุดท้ายของลัมปุง 


- ท่าอากาศยานนานาชาติแฮง ดานิม Hang Nadim International Airport สนามบินนานาชาติที่ตั้งอยู่

            ในเมือง Batam หมู่เกาะ Riau ตั้งชื่อตาม Hang Nadim นักรบในตำนานจากภูมิภาค


- ท่าอากาศยานนานาชาติกูวาลานามู Kualanamu International Airport จังหวัดสุมาตราเหนือ  


- ท่าอากาศยานนานาชาติมินังกาเบา Minangkabau International Airport ในจังหวัดสุมาตราตะวันตก

            บนเกาะสุมาตรา มินังกาเบา มาจากชื่อของกลุ่มชาติพันธ์ในอินโด ชนเผ่าพื้นเมือง ที่ผู้หญิงเป็นใหญ่


- ท่าอากาศยานนานาชาติสุลต่านมะฮ์มุด บาดารูดินที่ 2 Sultan Mahmud Badaruddin II International Airport 

            ในเมืองปาเล็มบัง จังหวัดสุมาตราใต้  ชื่อสนามบินมาจากพระนามของสุลต่านมะฮ์มุด บาดารูดินที่ 2

            ซึ่งเป็นสุลต่านแห่งปาเล็มบัง


- ท่าอากาศยานนานาชาติสุลต่านซยาริฟ คาซิมที่ 2 Sultan Syarif Kasim II International Airport

             เมืองเปกันบารู, เรียวภาคตะวันออกของเกาะสุมาตรา ตั้งชื่อตาม สุลต่านองค์ที่ 12 และองค์สุดท้าย

            ของรัฐสุลต่านเซียกศรีอินทราปุระ (Sultanate of Siak Sri Indrapura)


- ท่าอากาศยานนานาชาติ สิซิงมังการาราชาที่สิบสอง Sisingamangaraja XII International Airport

            ตั้งอยู่ที่สิลันกิต ตปานุลีเหนือ สุมาตราเหนือ ตั้งชื่อตามนักรบบาตักและพระเจ้าสิสิงค์มังคราชาที่

            สิบสอง ราชาองค์สุดท้ายของชนเผ่าบาตักทางเหนือของสุมาตรา ที่ถูกสังหารในการต่อสู้กกับดัตช์

            ที่จะเข้ามายึดอินโดเป็นอาณานิคม


- ท่าอากาศยานนานาชาติ เอช.เอ.เอส. ฮานันด์โจดดิน H.A.S. Hanandjoeddin International Airport

            สนามบินในตันจุงปันดัน บังกา-เบลิตุง ตั้งชื่อตาม ผู้บุกเบิกกองทัพอากาศชาวอินโดนีเซียและอดีต

            ผู้สำเร็จราชการแห่งเบลิตุง


- ท่าอากาศยานนานาชาติราจา ฮาจิ ฟิซาบีลิลละห์ Raja Haji Fisabilillah International Airport เป็น

            สนามบินนานาชาติที่ตั้งอยู่ในตันจุงปินัง หมู่เกาะเรียว ตั้งชื่อตาม กษัตริย์ฮัจญ์ฟิซาบีลิลละห์ 

            เป็นนักรบของบูกิสและยังเป็นยังดิเปอร์ตวน มูดา (มกุฎราชกุมาร) แห่งรัฐยะโฮร์-เรียว


- ท่าอากาศยานนานาชาติสุลต่านอาจี มูฮาหมัด ซูลัยมาน เซปิงกัน Sultan Aji Muhammad Sulaiman

            Sepinggan Airport เป็นที่รู้จักกันในนามสนามบินเซปิงกัน เมืองบาลิกปาปันและพื้นที่ใกล้เคียงของ

            กาลิมันตันตะวันออก ตั้งอยู่ในกาลิมันตัน ตั้งชื่อตาม สุลต่านอาจี มูฮาหมัด ซูลัยมาน เซปิงกัน


- ท่าอากาศยานนานาชาติสยามสุดินนูร์ Syamsudin Noor International Airport จามาซินในกาลิมันตันใต้

            ของอินโดนีเซีย 


- ท่าอากาศยานนานาชาติสุปาดิโอ Supadio International Airport อยู่ห่างจากปอนเตียนัค กาลิมันตันตะวันตก 

            ประเทศอินโดนีเซีย 17 กม. 


- ท่าอากาศยานนานาชาติอาจี ปรินซ์ ตูเม็งกุง ปราโนโต Aji Pangeran Tumenggung Pranoto

            International Airport หรือที่เรียกว่าสนามบิน APT Pranoto หรือสนามบินซามารินดา เป็นสนามบิน

            หลักใน ซามารินดา เมืองหลวงของ กาลีมันตันตะวันออก ประเทศอินโดนีเซีย


- ท่าอากาศยานนานาชาติจูวาตา Juwata International Airport สนามบินนานาชาติในเมืองทารากัน

            จังหวัดกาลิมันตันเหนือ  ตั้งอยู่บนเกาะทารากันซึ่งอยู่นอกชายฝั่งบอร์เนียว


- ท่าอากาศยานนานาชาติสุลต่านฮาซานุดดิน Sultan Hasanuddin International Airport เป็นสนามบิน

            ในเมืองมากัซซาร์ ตั้งอยู่บริเวณชายแดนมากัสซาร์และมารอส ชานเมืองสุลาเวสีใต้ ตั้งชื่อตาม

            สุลต่าน ฮาซานุดดิน ผู้ปกครองคนที่ 16 ของสุลต่าน ของสุลต่านโกวา ในชื่อสมญา รี โกวาที่ 16

            เป็นวีรบุรุษของชาติชาวอินโดนีเซีย 


- ท่าอากาศยานนานาชาติซัม ราตูลางี Sam Ratulangi International Airport หรือ ท่าอากาศยาน

            นานาชาติมานาโด เป็นสนามบินนานาชาติในจังหวัดซูลาเวซีเหนือ ชื่อสนามบินมาจากบุคคลสำคัญ

            ชื่อว่า ซัม ราตูลางี เป็นครูมินาฮาซา เผ่านักรบแห่งซูลาเวซี นักข่าว นักการเมือง และวีรบุรุษของชาติ 

            จากซุลาเวสีเหนือ ผู้ว่าการสุลาเวสีคนแรก


- ท่าอากาศยานนานาชาติงูระห์ไร Ngurah Rai International Airport หรือที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า 

            ท่าอากาศยานนานาชาติเด็นปาซาร์ ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเกาะบาหลี ห่างจากเด็นปาซาร์ไปทางใต้

            13 กิโลเมตร ตั้งชื่อตาม I Gusti Ngurah Rai (พันโท อี กุซตี งูระฮ์ ไร) วีรบุรุษประจำชาติอินโดนีเซีย

            ที่เสียชีวิตในยุทธการที่มาร์การานา (Battle of Margarana) ระหว่างการปฏิวัติอินโดนีเซีย 

            ผู้นำการทัพในบาหลีต่อต้านชาวดัตช์ในสงครามการประกาศเอกราชอินโดนีเซีย

            ในยุคที่มีการล่าอาณานิคม จากชาติตะวันตก


- ท่าอากาศยานนานาชาติลอมบอก Lombok International Airport  หรือที่เรียกว่าสนามบินนานาชาติ

            ไซนุดดิน อับดุล มัดจิด เป็นสนามบินนานาชาติบนเกาะลอมบอกในอินโดนีเซีย 


- ท่าอากาศยานนานาชาติฟรานส์ ไคซีโป Frans Kaisiepo International Airport เป็นสนามบินใน 

            Biak เป็นเกาะที่ตั้งอยู่ในอ่าว Cenderawasih ใกล้ชายฝั่งทางตอนเหนือของปาปัว ประเทศอินโดนีเซีย

            ตั้งชื่อตาม Frans Kaisiepo ผู้ว่าการคนที่สี่ของปาปัว 


- ท่าอากาศยานนานาชาติดอร์เทย์ส แทต อิลวย Dortheys Hiyo Eluay International Airport หรือที่

            เรียกว่า ท่าอากาศยานนานาชาติเซนทานี Sentani International Airport  บนเกาะนิวกินี 


- ท่าอากาศยานนานาชาติโมปาห์ Mopah International Airport รัฐปาปัวใต้ ประเทศอินโดนีเซีย 






วันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

แชมป์เหรียญทองฟุตบอลซีเกมส์ของ อาเซียน

 


แชมป์เหรียญทองฟุตบอลซีเกมส์ของ อาเซียน

  มาดูกันว่าในฟุตบอลซีเกมส์ฟุตบอลชายนั้น มีประเทศอะไรบ้างที่เคยได้แชมป์ และได้กันปีไหน 

สมัยไหนบ้าง จัดไป ฟุตบอลคือกีฬายอดนิยม ของอาเซียน เป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมมาก

แทบทุกประเทศยกให้เป็นกีฬายอดฮิต เว้นแต่ฟิลิปปินส์ที่ บาสเก็ตบอล และมวยสากลที่มาแรงกว่า

แชมป์เหรียญทองฟุตบอลซีเกมส์ของ อาเซียน


ขณะเป็นกีฬา แหลมทอง


1. ปี 1959 เวียดนามใต้ : ชนะไทย 3-1 ปีนั้นแข่งที่ ไทย  แข่งกันแค่ 4 ทีมแบ่งกลุ่ม เอาที่ 1 และ 2 

เข้าชิง ใช้เวลา 5 วัน


2. ปี 1961 มาลายา (มาเลเซีย) : ชนะพม่าไป 2-0 ที่ย่างกุ้ง เมืองหลวงเก่าและนครเมืองที่ใหญ่

ของพม่า และมายาคือชื่อประเทศเดิม ของมาเลเซีย ปีนี้มี 6 ทีมแบ่ง 2 กลุ่ม เอา 1 กับ 2 ของกลุ่ม

ไปรอบรองและเข้าไปชิง


3. ปี 1965 พม่า / ไทย  : ครองแชมป์ร่วมหลังเสมอกัน 2-2 แข่งที่ กัวลาลัมเปอร์ เมืองหลวงของประเทศ

มาเลเซีย เนื่องจากการถอนตัวของสิงคโปร์หลังจากนัดที่สองทำให้เหลือสี่ทีมในการแข่งขัน การแข่งขัน

กลุ่มที่เหลืออีกเจ็ดรายการถูกยกเลิก พม่า มาเลเซีย เวียดนามใต้ และไทย ผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศ 

(ปีนั้นมีแค่ 5 ทีม สิงคโปร์ถอนหลังจากแข่ง พม่า กับ มาเลเซีย)


4. ปี 1967 พม่า : ชนะเวียดนามใต้ 2-1 มี 5 ทีมแบ่ง 2 กลุ่ม เอาที่ 1 2 เข้ารอบรอง


5. ปี 1969 พม่า : ชนะไทย 3-2 ที่ย่างกุ้ง 5 ทีมเข้าแข่ง เหมือนปีก่อน วิธีคัดแบบเดียวกัน


6. ปี 1971 พม่า : ชนะเจ้าภาพมาเลเซีย ที่กัวลาลัมเปอร์ 2-1


7. ปี 1973 พม่า : ชนะเวียดนามใต้ 3-2 ที่สิงคโปร์  ปีนี้มี 6 ทีมหลังจากที่สิงคโปร์กลับเข้ามาแข่งอีกครั้ง

 แบ่ง 2 กลุ่ม ที่ 1 2เข้ารอบรอง


8. ปี 1975 ไทย : ชนะมาเลเซีย ที่กรุงเทพ 3-1 



เปลี่ยนมาเป็นซีเกมส์ หลังมีสมาชิกอาเซียนมาเพิ่ม



9. ปี 1977 มาเลเซีย : ชนะไทย 2-0 ที่กัวลาลัมเปอร์  มี 7 ทีม ทีมใหญ่ๆอย่าง ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย 

บรูไน เพิ่มเข้ามา แต่ ลาว กับ เวียดนามใต้ ไม่ได้เข้าแข่ง 


10. ปี 1979 มาเลเซีย : ชนะอินโดนีเซีย คาบ้านที่จาร์กาต้า 1-0 ปีนี้เหลือ 5 เนื่องจาก ฟิลิปปินส์ กับ 

บรูไน จาก 2 ปีก่อนไม่ได้เข้าแข่ง เลยจะเอาที่ 1 กะ 2 ไปชิงเหรียญทอง แต่ไทย กับอินโด คะแนนเท่ากัน

 ทุกอย่างเท่ากันเลย ไปแข่งเพลย์ออฟ กัน เสมอกันอีก ยิงจุดโทษ อินโดชนะไป 3-1 ไปเจอกับมาเลย์ 

คู่ปรับตลอดกาลในนัดชิง โดนยิงตั้งแต่นาทีที่ 21 แพ้ไป 0-1


11. ปี 1981 ไทย : ชนะมาเลเซีย 2-1 แข่งที่ฟิลิปปินส์ ปีนี้มี 6 ที่ม เพราะ ฟิลิปปินส์เจ้าภาพกลับเข้า

มาแข่งอีกครั้ง


12. ปี 1983 ไทย : ชนะสิงคโปร์ 2-1 ที่บ้านสิงคโปร์ ปีนี้มี 7 ทีม มีบรูไน กลับมาแข่งเพิ่มจากสมัยที่แล้ว


13. ปี 1985 ไทย : ชนะสิงคโปร์ไป 2-0 แข่งที่กรุงเทพ ปีนี้เหลือ 6 ทีม อีกครั้ง หลังพม่าไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน


14. ปี 1987 อินโดนีเซีย : ชนะมาเลเซีย 1-0 เอาคืนจากปี 1979 ที่บ้านตัวเอง ชนะในช่วงต่อเวลาพิเศษ 

ปีนี้มี6 ทีมฟิลิปปินส์ไม่ส่ง แต่พม่าส่งที่ยู 19 มาแทน


15. ปี 1989 มาเลเซีย : ชนะสิงคโปร์ 3-1 ที่บ้านตัวเอง ปีนี้มี 7 ทีม ฟิลิปปินส์กลับมา พม่าเปลี่ยนเป็น 

เมียนมาร์ เข้าแข่งขัน


16. ปี 1991 อินโดนีเซีย : ชนะไทย หลังจากต่อเวลา 0-0 ยิงจุดโทษชนะไทยไป 4-3 ปีนี้มี 7 ทีม 

แต่บรูไนไม่ส่ง กลายเป็นจากเวียดนามใต้ ที่ตอนนี้เป็นเวียดนาม หรือ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม 

ในชื่ออย่างเป็นทางการ เข้ามาแข่ง


17. ปี 1993 ไทย : ชนะเมียนมา 4-3 ที่สิงคโปร์ ปีนี้มี 9 ทีม มีลาว กับ บรูไน เพิ่มเข้ามาจากรอบที่แล้ว


18. ปี 1995 ไทย : ชนะเวียดนาม 4-0 ที่เชียงใหม่ ปีนี้เป็นปีแรกที่ทีมจากอาเซียน เข้าร่วมแข่งขันครบ

ทั้ง 10 ประเทศ โดยมีกัมพูชา เข้าร่วมด้วยในฐานะน้องใหม่


19. ปี 1997 ไทย : ชนะอินโด ในเกม รวมต่อเวลา เสมอ 1-1 ยิงจุดโทษชนะ 4-2 เป็นเหตุให้แฟนบอล

เรือนแสนในสนามเสนายัน เดือดปุดๆ ลามไปถึงขั้นเผาสนาม เป็นข่าวใหญ่และดัง ยังพูดถึงเรื่อยๆ

จนถึงปัจจุบัน


20. ปี 1999 ไทย : ชนะเวียดนาม 2-0 ที่ บันดาเสรีเบกาวัน เมืองหลวงบรูไน 


21. ปี 2001 ไทย : ชนะมาเลเซียคาบ้าน 1-0 ปีนี้เหลือ 9 ทีม เนื่องจากฟิลิปปินส์ไม่เข้าแข่งขัน


22. ปี 2003 ไทย : ชนะเจ้าภาพเวียดนามในช่วงต่อเวลาพิเศษไป 2-1 จากประตูชัยของ ณัฐพร พันธุ์ฤทธิ์

 นาทีที่96 ปีนี้มี 8 ทีม บรูไน กับ ฟิลิปปินส์ไม่ส่งแข่ง


23. ปี 2005 ไทย : ชนะเวียดนามไป 3-0 แข่งที่ฟิลิปปิส์ 


24. ปี 2007 ไทย : ชนะเมียนมา 2-0 แข่งที่ นครราชสีมา มี 8 ทีม บรูไน กับฟิลิปปินส์ไม่ส่ง 


25. ปี 2009 มาเลเซีย : ชนะเวียดนาม 1-0 ที่เวียงจันทน์ ประเทศลาว เป็นครั้งแรกที่ลาวได้จัดซีเกมส์

อีกด้วย มี 9 ทีม ฟิลิปปินส์ กับ บรูไน ก็ยังไม่ส่งทีมเข้ามา แต่มี ติมอร์เลสเต ประเทศใหม่

ที่แยกมาจากอินโดนีเซีย เข้ามาแข่งเพิ่ม


26. ปี 2011 มาเลเซีย : บุกชนะอินโด คู่ปรับเก่าจากการดวลลูกโทษ 4-3 หลังเสมอกันในเวลา 1-1 

มี 11 ทีม 10 ประเทศอาเซียนครบ + ติมอร์ อีก 1 มีทีมแข่งเยอะที่สุด 11 ทีม ตั้งแต่แข่งมา


27. ปี 2013 ไทย : ชนะ อินโดนีเซีย 1-0 ที่ เนปิดอว์ เมียนมา


28. ปี 2015 ไทย : ชนะ เมียนมา 3-0 ที่สิงคโปร์


29. ปี 2017 ไทย : บุกชนะเจ้าภาพมาเลย์ 1-0 ที่ กัวลาลัมเปอร์


30. ปี 2019 เวียดนาม : ชนะ อินโดนีเซีย 3-0 ที่ มะนิลา ฟิลิปปินส์


31. ปี 2021 เวียดนาม : ชนะ ไทย 1-0 ที่บ้านตัวเอง ฮานอย เป็นการสิ้นสุดยุคทองของไทยอย่างแท้จริง

ในปีนี้  เข้าสู่ยุคทองของเวียดนามมา 3-4 ปีแล้ว



ประเทศที่ได้แชมป์ 


- ไทย 16 สมัย


- มาเลเซีย 6 สมัย


- พม่า ( เมียนมา ) 5 สมัย


- เวียดนาม 3 สมัย ( รวมของเวียดนามใต้ด้วย )


- อินโดนีเซีย 2 สมัย 


** ที่มีแชมป์มากกว่า การแข่งขัน 1 ครั้ง เพราะมีครั้งที่ 3 ปี 1965 นั้น ไทย และ พม่าเป็นแชมป์ร่วมกัน


ประเทศไทย ยังคงเป็นเจ้าเหรียญทอง ฟุตบอลซีเกมส์ มากที่สุดเหมือนกับ อาเซียนคัพ ที่ไทยเอง


ก็เป็นแชมป์มากที่สุดเช่นกัน


-