Ads

วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2566

สัตว์น้ำ หรือปลา ประจำชาติ ประเทศอาเซียน

 


สัตว์น้ำ หรือปลา ประจำชาติ ประเทศอาเซียน

สัตว์น้ำ หรือปลา ประจำชาติ ประเทศอาเซียน


 เราเคยมี สัตว์และดอกไม้ประจำชาติอาเซียน ไปแล้ว เลยจะมาว่ากันต่อกับสัตวืน้ำ ไม่ว่าจะเป็นสัตว์น้ำจืด

 หรือน้ำเค็มอะไรก็แล้วแต่ ว่าแต่ละประเทศในอาเซียนนั้น มีสัตวืน้ำประจำชาติว่าอะไรกันบ้าง


สัตว์น้ำ หรือปลา ประจำชาติ ประเทศอาเซียน



1. ไทย : ปลากัดไทย Siamese fighting fish, Betta Splendens เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก มีสีและลวดลาย

 รวมถึงครีปที่สวยงาม


2. พม่า : -


3. ลาว : -


4. เวียดนาม : -


5. กัมพูชา : ปลากระโห้ The giant barb / Siamese carp แต่เป็นแบบตัวโตเต็มวัย ที่กัมพูชาเรียก Trey Kol Raing 


6. มาเลเซีย : -


7. สิงคโปร์ : -


8. บรูไน : -


9. อินโดนีเซีย : Asian arowana หรือ ปลาตะพัด หรือที่นิยมเรียกว่า ปลาแอโรวานา  เป็นปลาน้ำจืด จัดเป็น

ปลาสวยงาม ที่อินโด เรียกว่า Animal of charm


10. ฟิลิปปินส์ : Milkfish หรือ bangus ปลานวลจันทร์ทะเล ปลาทะเลที่สามารถอาศัยในน้ำกร่อยหรือ

น้ำจืดได้  ปลามิลค์ฟิช (Milkfish) หรือที่เรียกกันในท้องถิ่นว่า “บังกัส”  และมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า 

Chanos chanos เป็นปลาประจำชาติของฟิลิปปินส์  




ใน 10 ประเทศจะมีปลาประจำชาติอยู่ แค่ 4 ประเทศเท่านั้น ประเทศใน CLMV นั้นมีแค่กัมพูชาเพียง

ประเทศเดียวที่มีนอกนั้นไม่มีปลาหรือสัตว์น้ำประจำชาติเป็นสัญลักษณ์ ถ้าพูดเรื่องขนาดของปลา 

ไทยเราเล็กสุด แต่พูดเรื่องความสวยนี่ ไทยเราสวยสุดเช่นกัน



วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2566

ประเทศในอาเซียน ที่เคยเป็นเจ้าภาพ มิสยูนิเวิร์ส

 


ประเทศในอาเซียน ที่เคยเป็นเจ้าภาพ มิสยูนิเวิร์ส

 บทความก่อนเราเอารายชื่อตัวแทนจากอาเซียนที่เคยได้ตำแหน่ง ผู้หญิงสวยที่สุดในจักรวาลมาแล้ว

ทำเนียบ นางงามจักรวาล ที่เป็นชาวอาเซียน  วันนี้เลยเอารายชื่อเจ้าภาพในอาเซียน ประเทศ 

หรือเมืองที่เคยเป็นเจ้าภาพนางงามจักรวาลกันบ้างว่ามีที่ไหนบ้าง มาดูกัน


ประเทศในอาเซียน ที่เคยเป็นเจ้าภาพ มิสยูนิเวิร์ส


ปี 1974 ฟิลิปปินส์ : มะนิลา เมืองหลวงของประเทศฟิลิปปินส์ ปีนั้น นางงามจากสเปน อัมปาโร มุญโญซ 

( Amparo Muñoz ) ได้ครองตำแหน่ง 


ปี 1987 สิงคโปร์ : สิงคโปร์ ประเทศที่มีขนาดพื้นที่ เล็กที่สุดในอาเซียน แต่เจริญมากที่สุด ปีนั้น 

เซซิเลีย โบลอกโค (Cecilia Bolocco) จากชิลี ได้ตำแหน่งไป


ปี 1992 ไทย  : กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงที่มีชื่อยาวที่สุดและมีความหมายของเมืองหลวงดีสุดๆ 

ของไทย ได้เป็นเจ้าภาพครั้งแรก ปีนั้น มิเชลล์ แมคลีน (Michelle McLean)จากนามิเบีย ได้ตำแหน่ง

ไปครอง


ปี 1994 ฟิลิปปินส์  : มะนิลา กลับมาจัดอีกครั้งหลังจาก ปี 74  ครบ 20 ปีพอดี ปีนั้นนางงามจากเอเชีย

อย่าง ชุชมิตา เซน (Sushmita Sen) ชาวอินเดีย ได้ครองตำแหน่งไป


ปี 2005 ไทย  : กรุงเทพมหานคร ได้กลับมาจัดอีกครั้ง ครั้งนี้นางงามคนดังจากแดนาคา ที่คนไทยรู้จักกันดี

อย่าง นาตาลี เกลโบวา ( Natalie Glebova ) อดีตภรรยานักเทนนิสดังของไทยอย่าง ภราดร ศรีชาพันธุ์ 

ของนักกีฬาชาวไทย ซึ่งเป็นอีกอดีต กีฬาที่ชาวอาเซียนเล่นเก่งระดับโลก เพราะภราดร เคยไปถึง 

ท็อป 10 ของโลกเลยทีเดียว


ปี 2008 เวียดนาม  : เมืองญาจาง เมืองดังของอาเซียน อีกเมืองนึง ที่อยู่ในเวียดนาม ปีนั้น เจ้าแม่นางงาม

อย่างประเทศเวเนซุเอล่า คือ ดายานา เมนโดซา ( Dayana Sabrina Mendoza Moncada ) ได้ครองตำแหน่ง

ไป และเป็นคนที่ 5 ของเวเนอีกด้วย ณ ตอนนั้น ซึ่งปีถัดไป คนที่ 6 ของเวเนก็ได้เป็นเจ้าของตำแหน่งอีก 2

 ปีติดเลย


ปี 2015 ฟิลิปปินส์  : มะนิลา ได้จัดอีกครั้งเป็นครั้งที่ 3 ซึ่งปีนั้น ไอริส มิตเตอแนร์ (Iris Mittenaere) 

มิสฟรานซ์ จากฝรั่งเศส ได้เป็นเจ้าของตำแหน่ง


ปี 2018 ไทย  : กรุงเทพมหานคร เป็นปีที่ได้รับการยกย่องให้เป็น 1 ในการเป็นเจ้าภาพการจัดงานที่ดีที่สุด

 อีกปี และปีนี้นางงามจากฟิลิปปินส์ แคทรีโอนา เกรย์ (Catriona  Gray) เป็นเจ้าของตำแหน่ง และเป็นคน

ที่ 4 ของฟิลิปปินส์อีกด้วย



ในอาเซียน มีเจ้าภาพที่เคยจัด นางงามจักรวาล มา 4 ประเทศ นั้นคือ ไทย และ ฟิลิปปิส์ ประเทศละ 3 ครั้ง

 สิงคโปร์ 1 ครั้ง และประเทศจากกลุ่ม CLMV อย่างเวียดนาม อีก 1 ครั้ง รวมเป็นจัดในอาเซียนมา 8 ครั้ง

แล้ว

วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2566

วีรบุรุษของแต่ละประเทศในอาเซียน ( ผู้กู้ชาติจากยุคล่าอาณานิคม )

 

วีรบุรุษของแต่ละประเทศในอาเซียน 

( ผู้กู้ชาติจากยุคล่าอาณานิคม )

เรามาดูกันว่า ประเทศไหนบ้างในอาเซียนนั้น มราตกเป็นอาณานิคม หรือเมืองขึ้นแล้วสามารถ

เรียกร้องเอกราช กู้อิสระภาพของชาติบ้านเมืองตจัวเองหลังจากยุคล่าอาณานิคมมีใครบ้าง 

ส่วนไทยนั้นไม่ได้ตกเป็นอาณานิคมของผู้ใด จึงไม่มีนะคับ


วีรบุรุษของแต่ละประเทศในอาเซียน ( ผู้กู้ชาติจากยุคล่าอาณานิคม )



1. พม่า : พลตรีอองซาน  ผู้ก่อตั้งกองทัพพม่า และได้รับการขนานให้เป็นบิดาแห่งรัฐพม่าสมัยใหม่ 

มีบทบาทเป็นอย่างมากในการเคลื่อนไหวเพื่อเอกราช แต่ถูกลอบสังหารก่อนพม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษ



2. ลาว : เจ้าสุภานุวงศ์ สัญลักษณ์การต่อสู้เพื่อเอกราชของประเทศลาว ผู้นำคนแรกของลาว ในฐานะ

ประธานประเทศ (ประธานาธิบดี) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หลังจากได้มีการเปลี่ยนแปลง

การปกครองจากอาณาจักรมาเป็นสาธารณรัฐ โดยชื่ออย่างเป็นทางการของลาว คือ  สาธารณรัฐ

ประชาธิปไตยประชาชนลาว 



3. ฟิลิปปินส์ : ผู้นำในการลุกฮือขึ้นต่อสู้กับสเปน นักปฏิวัติในการเรียกร้องเอกราชของฟิลิปปินส์


- เอมีลีโอ ฟามี อากีนัลโด (Emilio Famy Aguinaldo) ประธานาธิบดีคนแรกของฟิลิปปินส์

- โฮเซ รีซัล (José Rizal)   บิดาแห่งชาติฟิลิปปินส์ 

- อันเดรส โบนีฟาซีโอ อี เด กัสโตร (Andrés Bonifacio y de Castro) นักปฏิวัติเรียกร้องเอกราช

           ของฟิลิปปินส์จากสเปน



4. อินโดนีเซีย : ซูการ์โน ประธานาธิบดีคนแรกของอินโดนีเซีย มีส่วนสำคัญในการประกาศเอกราช

ของอินโดนีเซียต่อเนเธอร์แลนด์ ผู้นำปัญญาชนเพื่อการกอบกู้เอกราช



5. มาเลเซีย :  ตนกู อับดุล ราห์มาน Tunku Abdul Rahman ผู้นำการเรียกร้องเอกราชบุคคลผู้มีบทบาท

สำคัญในเรื่องเอกราชให้แก่ประเทศมาเลเซีย  ได้รับยกย่องเป็นบิดาแห่งเอกราชหรือบิดาแห่งประเทศ

มาเลเซีย



6. กัมพูชา : พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ พระองค์เป็นกษัตริย์แห่งกัมพูชา, ประมุขแห่งรัฐกัมพูชา 

และนายกรัฐมนตรีแห่งกัมพูชาหลายสมัยเจรจากับฝรั่งเศสเพื่อเรียกร้องเอกราช 



7. บรูไน : สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านฮัสซานัล โบลเกียห์  องค์สุลต่านเดินทางไปยังสหราชอาณาจักร

เพื่อ ประชุมร่วมกับฝ่ายอังกฤษเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญของบรูไนและอังกฤษก็ยอมรับ ภายหลังได้มีการ 

ลงนามในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ภายใต้ระบอบการปกครองแบบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ทำให้รัฐบาลบรูไน

มีสิทธิในการบริหารราชการด้วยตนเอง อังกฤษจะเป็นเพียงผู้คุ้มครองเท่านั้น ต่อมาได้เกิดการเรียกร้อง

เอกราชของเพื่อการเรียกร้องเอกราชของมาเลเซียทำให้บรูไนที่อยู่ติดกันวุ่นวายไปด้วย เพื่อที่จะก่อตั้ง

เป็นสหพันธรัฐมาเลซีย มีลัทธิชาตินิยม สร้างความวุ่นวายไปทั่ว ในทีแรกสุลต่านมีความคิดเห็นจะให้บรูไน

ไปรวมกับมาเลเซีย แต่มีการคัดค้านและเสนอให้บรูไน นั้นไปรวมกับทาง ซาราวัค และ ซาบาห์ เพื่อตั้ง

เป็นประเทศใหม่ แต่แผนนี้ก็ถูกล้มไป ต่อมาได้มีกองกำลังปลดปล่อยชาติกาลิมันตันเหนือ ที่มาจาก

ทางอินโดนีเซียก่อนความวุ่นวายขึ้นกับบรูไน ทางสุลต่านจึงได้ประกาศภาวะฉุกเฉินและขอความ

ช่วยเหลือจากทหารกรูข่าที่อังกฤษดูแลอยู่ มาเข้าควบคุมสถานการณ์จนเรียบร้อย ทำให้ทางสุลต่าน

ตัดสินใจไม่ข้าร่วมกับสหพันธรัฐมาเลเซีย จนต่อมาก็สามารถประกาศเอกราชเป็นประเทศได้สำเร็จ

และสมัครเข้าเป็นสมาชิกอาเซียน จนถึงปัจจุบัน



8. สิงคโปร์ : แฮร์รี ลี กวนยู (Harry Lee Kuan Yew) ผู้นำในการต่อสู้เพื่อเอกราชของสิงคโปร์ ตัดสินใจ

เข้าร่วมสหพันธรัฐมาลายา (มาเลเซีย) เพื่อให้ได้เอกราชด้วยกัน ในแถบคาบสมุทรมลายู แต่ต่อมา

เนื่องจากความแตกต่างอะไรหลายๆอย่าง กับมาเลเซียอื่นๆ ทำให้ต้องแยกตัวออกมาและ ประกาศ

เอกราชมีอำนาจอธิปไตยของตนเอง ปกครองในรูปของสาธารณรัฐ 



9. เวียดนาม : โฮจิมินห์ เป็นบุคคลที่ชาวเวียดนามถือว่าเป็นบุคคลที่มีความสำคัญในการประกาศเอกราช

อิสระภาพของชาวเวียดนาม หลุดออกจากปกครองของฝรั่งเศส จนคนเวียดนามเอาชื่อลุงโฮ ไปใช้แทน

ชื่อไซ่ง่อนเมืองหลวงเก่าของเวียดนามใต้  กลายเป็นนคร โฮจิมินห์ โดยจุดสำคัญที่เป็นจุดพลิกผันให้

ฝรั่งเศสพ่ายแพ้แก่เวียดนามที่ดังที่สุดคือที่ ยุทธการที่เดียนเบียนฟู ที่ต่อสู้สามารถรบนะฝรั่งเศสทั้งๆที่

ตัวเองอาวุธด้อยกว่าไม่มีเครื่องบินรบแบบฝรั่งเศสอีกด้วย






วันเสาร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2566

ทำเนียบ นางงามจักรวาล ที่เป็นชาวอาเซียน

 


ทำเนียบ นางงามจักรวาล ที่เป็นชาวอาเซียน

  ถึงช่วงประกวด นางงามที่ยิ่งใหญ่ของโลกใบนี้อย่างนางงามจักรวาลแล้ว เราเลยพามาดูกันว่า

 มีชาวอาเซียนจากประเทศไหน ใครบ้าง ที่เคยได้ตำแหน่งสาวที่สวยที่สุดในโลกนี้กันบ้าง วันที่

เราทำบทความพิเศษด้วยตรงที่ว่า รายการนี้ได้กลายเป็นของคนไทย อย่างคุณแอน จักรพงษ์ 

JKN  จักรพงษ์ จักราจุฑาธิบดิ์ ผู้ถือหุ้น รายใหญ่ของ บริษัท เจเคเอ็น โกลบอล กรุ๊ป จำกัด

 (มหาชน) (JKN) 


ทำเนียบ นางงามจักรวาล ที่เป็นชาวอาเซียน


1. อาภัสรา หงสกุล : จากประเทศไทย  เป็นคนแรกของ ชาวอาเซียน และคนที่ 2 ของทวีปเอเชีย 

ได้ในปี 1965 ในวันที่ 24 กรกฎาคม 1965 เกิดที่จังหวัดพระนคร ประเทศไทย ปัจจุบันก็คือ กรุงเทพมหานคร

 เมืองหลวงของประเทศไทย ส่วนที่ก่อนจะรวมกับฝั่งธน


 

2. กลอเรีย ดิแอซ :  Gloria Diaz  จากประเทศฟิลิปปินส์ ในปี 1969 วันที่ 19 กรกฎาคม 1969



3. มาการีตา โมแรน : Margie Moran (Margarita Moran) จากประเทศฟิลิปปินส์ ในปี 1973 วันที่ 21

 กรกฎาคม 1973



4. ภรณ์ทิพย์ นาคหิรัญกนก : จากประเทศไทย ได้ในปี 1988 วันที่ 24 พฤษภาคม 1988 ที่ ไทเป

ไต้หวัน เป็นคน ฉะเชิงเทรา ประเทศไทย



5. ปิอา เวิร์ตซแบช : Pia Wurtzbach จากฟิลิปปินส์ ปีนี้มีดราม่าการประกาศผลผิดพลาดบนเวทีอีกด้วย

 ชาวไทยเรียกนางงามคนนี้ว่า เปีย นางงามชาวฟิลิปปินส์-เยอรมัน  ได้ตำแหน่งในปี 2015 วันที่ 20 ธันวาคม

 ค.ศ. 2015 และเป็นคนที่ 3 ของฟิลิปปินส์ แซงไทยประกวดที่ ลาสเวกัส, รัฐเนวาดา, สหรัฐ



6. แคทรีโอนา เกรย์ : Catriona Elisa Magnayon Gray จากฟิลิปปินส์ เป็นคนที่ 4 ได้ในปี 2018 วันที่

17 ธันวาคม 2018จัดที่กรุงเทพมหานคร ของไทยเรานี่เอง และได้รับการยกย่องว่า เป็นปีที่จัด 

การประกวดได้ดีที่สุดปีนึงของ มิสยูนิเวิร์ส เลยทีเดียว



ในเอเชียนั้น มีนางงามที่ได้ครองตำแหน่งสวยที่สุดในโลก มา 13 คน เป็นของชาวอาเซียน ถึง 7 คน 

ปินส์4 ไทย 2 ไม่มีประเทศอื่นในอาเซียน นอกจาก 2 ประเทศนี้ ส่วน ประเทศใน CLMV อย่าง เมียนมา 

และ เวียดนามนั้น ก็มีลุ้นแทบทุกปี ส่วนของกัมพูชานั้น ก็ลุ้นกันเองในประเทศตลอด ส่วนนอกประเทศนั้น

คงต้องพิสูจน์ให้เยอะกว่าเดิม หวังว่าจะมีชาติใหม่ๆในอาเซียน ได้บ้างนอกจาก 2 ชาติ ไทย กับปินส์ 




วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2566

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC คืออะไร

 


ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC คืออะไร

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC คืออะไร

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC คืออะไร


1. สมาคม ประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ : Association of South East Asian Nation


2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน


3. ASEAN  Economic  Community : AEC


4. ใช้เป็นจุดมุ่งหมายหลักในการรวมตัวกันในด้านเศรษฐกิจ ใช้ในการต่อรองกับคู่ค้า และแต่ละประเทศ

ยังคงไว้ซึ่งอำนาจอธิปไตยของตัวเอง


5. เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจระดับโลก


6. ยกเว้นภาษีสินค้าบางชนิดให้กับประเทศสมาชิกในอาเซียน ( นำเข้า - ส่งออก )


7. ความตกลงทางการค้า : การลดอากรเฉพาะบางประเทศ / ลดอากรเป็น 0 ให้กับประเทศสมาชิก /


8. ส่งเสริมให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน


9. ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำด้านการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิก


10. ส่งเสริมให้ประเทศในอาเซียนรวมเป็นหนึ่งเดียวกันเพื่อการต่อสู้ในระดับเศรษญกิจโลกแบบที่ไม่เสียเปรียบ


11. เปิดเสรี คุ้มครอง ส่งเสริม และอำนวยความสะดวกด้านการลงทุน


12. เสรีในการเคลื่อนย้าย สินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือ และ เงินลงทุน ทั้งแบบ ตลาดหุ้น

 ตลาดหลักทรัพย์ หรือการนำเงินเข้ามาลงทุนสินค้าและบริการ 


13. เพื่อให้สามารถแข่งขันในหลายๆด้าน เช่น นโยบายการค้า / คุ้มครองผู้บริโภค / สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา / 

พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน / มาตราการทางภาษี และ E-commerce


14. ด้านพัฒนาเศรษฐกิจที่เท่าเทียม : SMEs 


15. รวมกลุ่มเป็นหนึ่งเดียวเพื่อเข้าสู้เศรษฐกินระดับโลก  


16. การจัดท าเขตการค้าเสรี (FTAs)ร่วมกับประเทศนอกอาเซียน


17. การมีส่วนร่วมในห่วงโซ่อุปทานโลก ( กระบวนการที่เกิดขึ้นระหว่างผู้ผลิต ผู้ให้บริการ และคู่ค้า )


18. ส่งเสริมกลุ่มเพื่อให้ไปเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก


19. สงเสริมให้อาเซียนมีอำนาจต่อรองและบทบาทในเวทีโลก


20. เพิ่มประสิทธิภาพขีดความสามารถในการแข่งขันนสู่ระดับสากล


21. เพื่อหลุดพ้นจากประเทศรายได้น้อย - ปานกลาง 


22. ลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มคุณภาพชีวิตรอบด้านแก่ประชาชนในชาติสมาชิก


23. ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน แรงงานฝีมือ และงานวิจัยภายในชาติสมาชิก


24. ส่งเสริมโลกสีเขียว กิจกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม





วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2566

ตลาดหุ้นอาเซียน ตลาดหลักทรัพย์ มีที่ไหนบ้าง

 


ตลาดหุ้นอาเซียน ตลาดหลักทรัพย์ มีที่ไหนบ้าง

ตลาดหุ้นอาเซียน มีที่ไหนบ้าง

ตลาดหุ้นอาเซียน ตลาดหลักทรัพย์ มีที่ไหนบ้าง


1. ไทย : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย Stock Exchange of Thailand, SET ก่อตั้ง 30 เมษายน

 พ.ศ. 2518 สกุลเงินบาทเป็นอีกสกุลเงินที่แข็งแกร่งในอาเซียน


2. ลาว : ตลาดหลักทรัพย์ลาว Lao Securities Exchange, LSX ตั้งอยู่ที่กรุงเวียงจันทน์ เมืองหลวง

ประเทศลาว ประเทศลาว


3. กัมพูชา : ตลาดหลักทรัพย์กัมพูชา Cambodia Securities Exchange, CSX ก่อตั้ง 11 กรกฎาคม 2554


4. เวียดนาม : มี 2 แห่ง คือ ตลาดหลักทรัพย์โฮจิมินห์ (HOSE) เปิดวันที่ 20 กรกฎาคม 2543  และ

 ตลาดหลักทรัพย์ฮานอย (STC) เปิด 3 สิงหาคม พ.ศ. 2548


5. เมียนมา : Yangon Stock Exchange ตลาดหลักทรัพย์ย่างกุ้ง (เมืองหลวงเก่า ของพม่า) ตั้งขึ้น

อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2558


6. มาเลเซีย : ตลาดหลักทรัพย์กัวลาลัมเปอร์  Kuala Lumpur Stock Exchange KLSE ก่อตั้งในปี 2507


7. อินโดนีเซีย : ตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซีย Indonesia Stock Exchange (IDX) ก่อตั้งเมื่อ 30 พฤศจิกายน

 2550


8. ฟิลิปปินส์ : ตลาดหลักทรัพย์ฟิลิปปินส์ Philippine Stock Exchange Inc (PSE) ก่อตั้ง 8 สิงหาคม 2470


9. บรูไน : ไม่มี


10. สิงคโปร์ : ตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ Singapore Exchange Limited (SGX) ก่อตั้งเมื่อ 1 ธันวาคม 2542


***

โดยในนี้มี 6 ชาติ 7 ตลาดหลักทรัพย์ที่เป็น สมาชิกของตลาดหลักทรัพย์อาเซียน ASEAN Exchanges

ซึ่งเป็นตลาดที่ได้รับการยอมรับทั้งในและนอกภูมิภาคอาเซียนเป้าหมายร่วมกันที่จะเพิ่มสภาพคล่อง

ของกลุ่มตลาดหลักทรัพย์อาเซียน เป็นหนึ่งในแผนการจัดตั้ง ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 

(ASEAN Economic Community: AEC)  


ร่วมกันยกระดับหุ้นในอาเซียนให้เป็นหลักทรัพย์ที่ได้รับการยอมรับ (Asset Class) จากผู้ลงทุนทั่วโลก


1. ไทย : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)


2. สิงคโปร์ : ตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ (SGX)


3. ฟิลิปปินส์ : ตลาดหลักทรัพย์ฟิลิปปินส์ (PSE)


4. อินโดนีเซีย : ตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซีย (IDX)


5. มาเลเซีย : ตลาดหลักทรัพย์กัวลาลัมเปอร์ (KLSE)


6. โฮจิมินห์ : ตลาดหลักทรัพย์โฮจิมินห์ (HOSE) เวียดนาม


7. ฮานอย :  ตลาดหลักทรัพย์ฮานอย (STC)  เวียดนาม