Ads

วันศุกร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ชาติอาเซียน จำนวนนักท่องเที่ยวเข้าไทย ท็อป10 ถึง 5 ประเทศ

 


ชาติอาเซียน จำนวนนักท่องเที่ยวเข้าไทย ท็อป10 ถึง 5 ประเทศ

ชาติอาเซียน จำนวนนักท่องเที่ยวเข้าไทย ท็อป10 ถึง 5 ประเทศ


 วันนี้เอาข้อมูลการท่องเที่ยวของไทยมากฝาก ข้อมูลที่ว่าด้วยเรื่อง ชาติไหนที่เข้าไทยเพื่อมาท่องเที่ยว

 หรือเข้ามาไทยมากที่สุด ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2565 ถึง  ธันวาคม 2565 โดยมีชาติในอาเซียน ภูมิภาค

เดียวกับเรา เข้าไทยมากถึง 5 ชาติจาก ท็อป 10 และ 8ชาติ จากท็อป 20 เลยทีเดียว มาดูกันว่ามีชาติไหน

เข้าไทยมาเท่าไหร่กันบ้าง เอาตัวเลขกลมๆนะ แบบเศษๆ ไม่นับดีกว่า ไทยมีชื่อเสียงดีๆ อยู่แล้วสำหรับ

การท่องเที่ยว  โดยมี กรุงเทพ ภูเก็ต เชียงใหม่ พัทยา เมืองที่นักท่องเที่ยวต่างชาติรู้จักเยอะที่สุดอาเซียน


จำนวนนักท่องเที่ยวเข้าไทย


1. มาเลเซีย : 1.8 ล้านคน ส่วนใหญ่จะเข้ามาไทยในช่วงวันหยุด ผ่านด่านชายแดน ทางภาคใต้เที่ยว

แถวๆใกล้ๆชายแดน อย่าง หาดใหญ่ สงขลา และบางครอบครัวอาจจะเลยมาเกาะที่ใหญ่ที่สุด ของไทย

อย่างภูเก็ต อีกด้วยเหตุผลจากที่สืบมาส่วนใหญ่เพราะว่าเที่ยวในมาเลเซีย ทั้งที่พักและค่าใช้จ่ายแพงกว่า

ข้ามแดนมาเที่ยวในไทย จึงเลือกเข้ามาเที่ยวไทยที่หลากหลายกว่าและค่าใช้จ่ายถูกกกว่า เหมาะสำหรับ

ทริปครอบครัวเป็นอย่างมาก


2. อินเดีย : กว่า 9 แสนคน ถือว่าเป็นตลาดใหญ่ไม่แพ้จีน ที่เข้ามาเที่ยวไทยเรื่อยๆ  ตามอัตราการเติบโต

ของรายได้ของประชากรอินเดีย


3. ลาว : กว่า 8 แสนคน อีกหนึ่งประเทศใน CLMV ที่เข้ามาไทย มีทั้งมาเที่ยวมาทำยูทูป 

( ช่องภาษาไทย นั้นแหละ ) มาทำงานในไทย


4. กัมพูชา : กว่า 5.5 แสนคน มีทั้งมาเที่ยวมาซื้อคอนโด ไปจนถึงมาทำงานใช้แรงงาน มาเที่ยวมาซื้อของ

โดยเฉพาะพวก งานเสื้อผ้า ศิลปะวัฒนธรรมแบบไทยๆ ไปใช้ในกัมพูชา หรือของต่างๆที่ต้องใช้เกี่ยวกับ

ไทยที่จะเอาไปใช้ในกัมพูชา เช่นกัน อย่าง ชุดไทย เครื่องประดับ งานฝีมือ เสื้อผ้าหน้ากากโขนระดับ

ปราณีต เครื่องทอง เป็นต้น


5. สิงคโปร์ : กว่า 5.5 แสนคน ถึงจะเป็นประเทศที่ติดกับมาเลย์ แต่สิงคโปร์ก็ไม่ได้เน้นเที่ยวชายแดนมากนัก 

ส่วนใหญ่จะบินเข้ามา เมืองหลวงอย่างกรุงเทพก่อน แล้วจึงแยกตัวไปตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ หรือ

แม้กระทั่งมาทำธุรกิจติดต่องาน


6. เกาหลีใต้ : กว่า 4.9 แสนคน ช่วงนี้ไทยค่อนข้างฮิตในเกาหลี ทั้งเรื่องค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่า อาหาร แนะนำ

ที่ท่องเที่ยว


7. เวียดนาม : กว่า 4.5 แสนคน เป็นปกติที่ชาวเวียดนามจะเข้ามาเที่ยวไทยอยู่แล้ว มีทั้งมาเรียน มาเที่ยว

 หรือบางคนก็เข้ามาทำงานในไทย


8. สหรัฐอเมริกา : กว่า 4.2 แสนคน 


9. สหราชอาณาจักร : กว่า 4.2 แสนคน


10. รัสเซีย : กว่า 3.6 แสนคน มักเข้ามาอยู่ในเมืองท่องเที่ยวอย่าง พัทยา ซะมากสำหรับคนรัสเซีย


ยังมี 11 ถึง 20 ที่มีอาเซียนอีก 3 ประเทศ เรียงๆ เลยนะ มี เยอรมัน , ออสเตรเลีย , ญี่ปุ่น , จีน , ฝรั่งเศส ,

 อินโดนีเซีย , เมียมา , ฟิลิปปินส์ , อิสราเอล , ฮ่องกง


โดยรวมการท่องเที่ยวไทย รับนักท่องเที่ยวในปีฟื้นโควิดแบบนี้ไปแล้วประมาณ 11 ล้านคน และคาดว่า 

จบปีอาจจะรับไปถึง 11.5 ล้านคน ด้วยเช่นกัน







วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2565

เมืองที่นักท่องเที่ยวต่างชาติรู้จักเยอะที่สุดอาเซียน

 


เมืองที่นักท่องเที่ยวต่างชาติรู้จักเยอะที่สุดอาเซียน

เมืองที่นักท่องเที่ยวต่างชาติรู้จักเยอะที่สุดอาเซียน


เมืองที่นักท่องเที่ยวต่างชาติรู้จักเยอะที่สุด ของแต่ละประเทศอาเซียน  คือเมืองใดมั่งมาดูกันดีกว่า

ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นเมืองสำคัญ แค่มันเป็นเมืองที่เป็นจุดหมายปลายทางสำคัญที่คนไปเยอะ


เมืองที่นักท่องเที่ยวต่างชาติรู้จักเยอะที่สุดอาเซียน


1. ไทย : กรุงเทพ เมืองที่ติดอันดับ 1-3 ของโลกเป็นประจำสำหรับการมาเยือนของนักท่องเที่ยวทุกๆปี

 กรุงเทพคือเมืองที่คนรู้จักเยอะที่สุดในอาเซียนและของไทยเลยก็ว่าได้

สถานที่ดังของประเทศในอาเซียน ถ้าไม่มีกรุงเทพคงเป็นไปไม่ได้



2. สิงคโปร์ : นับเป็นเมืองและประเทศก็ว่าได้เพราะเป็นประเทศขนาดเล็ก จึงนับไปได้เลย มักมี

นักท่องเที่ยว ในอาเซียนด้วยกันและหลายๆที่เดินทางไปบ่อยมากมีสนามบินนานาชาติ ที่ดีที่สุด

ในอาเซียนและติดท็อป 3 ของโลกอย่าง ท่าอากาศยานชางงี 



3. บรูไน : บันดาเสรีเบกาวัน เป็นเมืองหลวงของบรูไน และเชื่อเถอะประเทศนี้ไม่ได้เอาจริงเอาจัง

อะไรมากนักกับการท่องเที่ยว เขารวยมากอยู่แล้วและเมืองหลวง ของพวกเขาก็เป็นที่รู้จักเยอะที่สุด

ถ้าเทียบกับเมืองอื่นๆแล้วอะนะ ความหมายชื่อเมืองหลวง ของบรูไนก็ดีมากเช่นกันคือ 

เมืองท่าอันเป็นศรีแห่งพระเจ้า 



4. ลาว : วังเวียง เมืองท่องเที่ยวในแขวงเวียงจันทน์ ได้ฉายาว่า เมืองกุ้ยหลินแห่งเมืองลาว น้ำตก

ป่าเขา เป็นอีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยวที่ยอดฮิตในลาว ถึงแม้เขตปกครองใหญ่ที่สุด ของลาวจะเป็น 

แขวงสุวรรณเขต แต่วังเวียงก็เป็นจุดที่ นทท นิยมมากที่สุดมีสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมมากมาย 

ธรรมชาติงดงามด้วยภูเขาหินปูน



5. อินโดนีเซีย : บาหลี แน่นอนนัมเบอร์วันเลย คือ บาหลี เผลอๆ คนจะรู้จักแต่บาหลีมากกว่า

ประเทศด้วยซ้ำ สำหรับนักท่องเที่ยว เพราะเคยมีประเด็นบ่อยๆว่า คนแนะนำบาหลี เยอะมาก

แต่ไม่ได้เอ่ยถึงอินโดนีเซียหรืออื่นๆเกี่ยวกับอินโดเลยเสมือนบาหลีคือประเทศๆนึงก็มี จนมี

คนอินโดแบบน้อยใจมาในเน็ตเคยเห็นอยู่ บาหลีนั้นเป็นสภานที่ที่สวยงาม น่าสนใจ เกาะบาหลี

นั้นมีที่เที่ยวทั้งแบบธรรมชาติ ทะเลประการัง หาดทราย รวมไปถึง ภูมิทัศน์วัฒนธรรมของ

จังหวัดบาหลี  ระบบซูบัก หลักการตามปรัชญาไตรหิตกรณะ มีอายุย้อนไปถึงศตวรรษที่ 9 

เวลานานกว่า 1,000 ปี ถือเป็น มรดกโลก 1 ใน 9 แห่งของอินโดเลยทีเดียว



6. เวียดนาม : ฮาลองเบย์ มีสถานที่ท่องเที่ยว ที่คนรู้จักเยอะมากอย่าง อ่าวฮาลอง หรือ ฮาลองเบย์ 

ซึ่งก็เป็น 1 ใน 8 มรดกโลกของเวียดนาม แม้โฮจิมินห์ หรือไซ่ง่อนเดิม ( ที่ตั้งชื่อตาม โฮจิมินส์ 

ผู้นำคนแรก หลังจากได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสจะเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดและน่าจะดังที่สุดของเวียดนาม 

แต่เมืองเว้ ฮอยอัน ฮานอย ก็เป็นเมืองที่คนรู้จักเยอะเช่นกัน เปรียบดั่งไทยเรามี เชียงใหม่ พัทยา พีพี 

ภูเก็ต เกาะช้าง และอื่นๆ แต่ถ้า นักท่องเที่ยวรู้จักเยอะที่สุดก็ยังคงเป็นกรุงเทพ เหมือนกับเวียดนาม 

ที่ฮาลองเบย์นั้น ก็เป็นอีกจุดมุ่งหมายนึงของเวียดนามที่มีคนรู้จักเยอะมาก ถึงแม้ช่วงหลังจะซาลง

ไปบ้างแล้วก็ตาม



7. มาเลเซีย : ปีนัง จริงอยู่ที่กัวลาลัมเปอร์ เมืองหลวง อาจมีตึกแฝดเป็นแลนด์มาค แต่เมืองที่

นักท่องเที่ยวสนใจเยอะที่สุดของมาเลย์นั้นไม่ใช่ที่ไหน ปีนัง หรือเกาะหมาก นั่นเอง เป็นเกาะ 

ตั้งอยู่บนช่องแคบมะละกา ได้รับขนานนามว่า ไข่มุกแห่งตะวันออก มีการท่องเที่ยวหลายแบบ

เช่น ธรรมชาติ ผจญภัย อาหารการกินแบบทั้งพื้นเมืองและแบบจีน สินค้าพื้นเมือง ตึกรามบ้านช่อง

ร่วมสมัยแบบเก่า และยังมีมรดกโลกในจอร์จทาวน์เมืองหลวงของรัฐนี้ด้วย 



8. ฟิลิปปินส์ : กรุงมะนิลา เมืองหลวง แต่ที่จริงเซบูก็ไมได้น่าเกลียดอะไร แต่คือเมืองหลวงคือที่ๆ

นักท่องเที่ยว ที่จะมาฟิลิปปินส์รู้จักเยอะที่สุดอย่างแน่นอน ตั้งอยู่บนเกาะลูซอน เกาะที่ใหญ่ที่สุด

ของประเทศ มาเป็นจุดพักจุดตั้งต้นในการเที่ยวที่ประเทศนี้ก่อนที่คุณจะไปที่อื่นอย่าง ช็อคโกแลตฮิลส์

 แห่งเกาะโบฮอล เซบู โบราไกย์  ปาลาวัน  มะนิลา มีทั้งแหล่งช็อปปิ้ง ย่ายเมืองเก่า ประวัติศาสตร์ 

สมัยเป็นอาณานิคม ของ สเปน



9. กัมพูชา : เสียมราฐ ถ้าเป็นก่อนโควิดเราคงต้องบอกว่า สีหนุวิลล์  เมืองที่คนจีนเข้ามาปั้นเพื่อ

เป็นเมืองท่องเที่ยว เมืองจุดรับ นทท แต่ตอนนี้มันได้กลายเป็นเมืองที่ไไร้อนาคตไปแล้ว

แต่เสียมราฐที่เป็นเมืองเก่า มีโบราณสถานที่สำคัญอย่าง นครวัด เป็นศาสนสถานที่ใหญ่ที่สุดในโลก 

ก็ยังเป็นจุดที่ นักท่องเที่ยวนิยมมาอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสายของกัมพูชา



10. พม่า : มัณฑะเลย์ เป็นอดีตเมืองหลวง และเมืองใหญ่อันดับที่สองของพม่า มีที่เที่ยวมากมาย

 ทั้งวัด วัง ธรรมชาติ สะพานไม้อูเบ็ง มหาเจดีย์ เป็นเมืองแห่งวัฒนธรรมของพม่าเลยทีเดียว

เป็นประเทศในแถบ CLMV และอาเซียน ที่ปัจจุบันยังไม่สามารถเที่ยวได้ทุกโซนและบางช่วงก็

ไม่เหมาะสำหรับการท่องเที่ยวโดยเฉพาะเวลามีปัญหาสงครามกลางเมืองและการยึดอำนาจในประเทศ





วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2565

รายชื่อทีมชาติไทย AFF อาเซียนคัพ 2022

 


รายชื่อทีมชาติไทย AFF อาเซียนคัพ 2022

รายชื่อทีมชาติไทย AFF อาเซียนคัพ 2022


รายชื่อทีมชาติไทย ชุด อาเซียนคัพ 2022 ทีมชาติไทยเราประกาศรายชื่อ ขั้นสุดท้าย 23 คน 

สู้ศึกฟุตบอลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอาเซียน หลังจากไทยได้แชมป์เก่า จากรอบที่แล้ว และเป็น

แชมป์อาเซียนคัพ ถัง 6 สมัย หลังจากฟุตบอลซีเกมส์ ไทยทำได้แค่รองแชมป์ ในรายการ

อาเซียนคัพรอบนี้ ไทยก็อยากจะป้องกันแชมป์ให้ได้อีกครั้ง แต่คงเป็นงานหนักอย่างแน่นอน 

เพราะทีมชาติไทยชุดนี้นั้น ขาดผู้เล่นตัวหลักไปหลายราย ทั้งตัวใน และตัวที่เล่นนอกประเทศ

ก็ไม่ได้มาเล่น ถือว่าเป็นชุดที่ไม่เต็มสูบของไทยมากนัก ทำให้โอกาศป้องกันแชมป์อาจดูต้อง

พยายามมากว่ากว่าเดิมมาก แต่อย่างไรนั้นตัวผู้เล่นที่ส่งไปชุดนี้ก็มี ตัวระดับท็อปหลายคน

เชื่อว่าคงสามารถประสบความสำเร็จได้


ทีมชาติไทย


ผู้รักษาประตู 3 คน


1. กิตติพงษ์ ภูแถวเชือก : บีจี ปทุม


2. กัมพล ปฐมอรรฆย์กุล : ราชบุรี เอฟซี


3. สรานนท์ อนุอินทร์ : ลีโอ เชียงราย



กองหลัง 8 คน


1. กฤษดา กาแมน : ชลบุรี เอฟซี


2. ฉัตรมงคล เรืองฐณโรจน์  : ชลบุรี เอฟซี


3. ธีราทร บุญมาทัน : บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด


4. ศศลักษณ์ ไหประโคน : บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด


5. พรรษา เหมวิบูลย์ : บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด


6. เฉลิมศักดิ์ อักขี : โปลิศ เทโร เอฟซี


7. ศุภนันท์ บุรีรัตน์ : การท่าเรือ เอฟซี


8. จักพัน ไพรสุวรรณ : บีจี ปทุม ยูไนเต็ด



กองกลาง 9 คน


1. สุมัญญา ปุริสาย : ชลบุรี เอฟซี


2. ชาญณรงค์ พรมศรีแก้ว : ชลบุรี เอฟซี


3. บดินทร์ ผาลา : การท่าเรือ เอฟซี


4. เจริญศักดิ์ วงษ์กรณ์ : เมืองทอง ยูไนเต็ด


5. วีระเทพ ป้อมพันธุ์ : เมืองทอง ยูไนเต็ด  เป็นตัวอายุเกินที่มาจากซีเกมส์ด้วย


6. เอกนิษฐ์ ปัญญา : เมืองทอง ยูไนเต็ด


7. สารัช อยู่เย็น : บีจี ปทุม


8. พีรดนย์ ฉ่ำรัศมี : บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด


9. สรรวัชญ์ เดชมิตร : 



กองหน้า 3 คน


1. ธีรศิลป์ แดงดา : บีจี ปทุม


2. อดิศักดิ์ ไกรษร : เมืองทอง ยูไนเต็ด


3. ปรเมศย์ อาจวิไล : เมืองทอง ยูไนเต็ด


มีโปรแกรมแข่งรอบแบ่งกลุ่มดังนี้


- 20 ธันวาคม พ.ศ. 2565 : ไทย - บรูไน  19:30 


- 26 ธันวาคม พ.ศ. 2565 : ไทย - ฟิลิปปินส์ 19:30


- 29 ธันวาคม พ.ศ. 2565 : ไทย - อินโดนีเซีย 16:30


- 2 มกราคม พ.ศ. 2566 : ไทย - กัมพูชา 19:30





วันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2565

รายชื่อทีมชาติอินโดนีเซีย ชุด เอเอฟเอฟคัพ 2022

 



รายชื่อทีมชาติอินโดนีเซีย ชุด เอเอฟเอฟคัพ 2022

รายชื่อทีมชาติอินโดนีเซีย ชุด เอเอฟเอฟคัพ 2022


รายชื่อทีมชาติอินโดนีเซีย ชุด เอเอฟเอฟคัพ 2022 อินโดนีเซียประกาศรายชื่อ 28 นักเตะชุดลุยศึก 

อาเซียนคัพ AFF 2022 เพื่อทวงแชมป์คืนจากไทย ส่วนใหญ่เป็นนักเตะในฟุตบอลลีก ภายในประเทศ 

แต่มีหลายคนที่มาจากลีกต่างประเทศเรียกได้ว่า เป็นชุดความหวังฟูลทีมของ อินโดเลยก็ว่าได้ 

หลังจากที่ล้มเหลมในรายการนี้มาตลอด อินโดนีเซียเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศ AFF Championship 

หกครั้ง แต่ไม่เคยชนะการแข่งขันเลย พวกเขาผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศในรุ่นปี 2020 ล่าสุด เจอกับไทย

เลกแรกจบลงด้วยความพ่ายแพ้อย่างยับเยินของขุนพลการูด้า 4-0 และเลกที่ 2 

กลับมาจบที่ 2-2 ได้เพียงรองแชมป์


รายชื่อทีมชาติอินโดนีเซีย ชุด เอเอฟเอฟคัพ 2022



โดยมีรายชื่อดังนี้ 28 คน ก่อนตัดออก เหลือ 23 คน


ผู้รักษาประตู 3 คน


1. นาเดโอ อาร์กาวีนาตา : Nadeo Argawinata


2. มูฮัมหมัด รียันดี : Muhammad Riyandi


3. ชะฮ์รุล ฟาดิล : Syahrul Trisna



กองหลัง 11 คน


1. ริซกี รีโด : Rizky Ridho


2. ปราตามา อาร์ฮัน : Pratama Arhan   คนนี้มาจาก Tokyo Verdy  ลีกรองในญี่ปุ่น


3. เอลแกน แบกกอตต์ : Elkan Baggot มาจาก จิลลิ่งแฮม สโมสรฟุตบอลอาชีพของอังกฤษใน ลีกทู 

ซึ่งยืมมาจาก Ipswich Town ทีมในลีกวัน


4. ฆอร์ดี อามัต : Jordi Amat นักฟุตบอลอาชีพชาวสเปน ปัจจุบันเล่นให้กับสโมสรยะโฮร์ ดารุล ต๊ะซิม

ของมาเลย์ เจ้าตัวมีเชื้อสายอินโดนีเซีย


5. ฟัครูดิน อาร์ยันโต : Fachruddin Wahyudi


6. มูฮัมหมัด เฟราร์รี : Muhammad Ferrari


7. ฮันซามู ยามา ปรานาตา : Hansamu Yama


8. แอนดี เซตโย่ : Andy Setyo


9. เอโด เฟบรียันชะฮ์ : Edo Febriansah


10. อัซนาวี มังกูวาลัม : Asnawi Mangkualam  เล่นให้กับสโมสรเคลีก 2 อันซาน กรีนเนอร์ส  (Ansan Greeners)


11. แซนดี้ วาลช์ : Sandy Walsh เล่นในตำแหน่งแบ็คขวาให้กับสโมสรเมเคอเลินในลีกเบลเยียม



กองกลาง 7 คน


1. ริคกี้ กัมบัวย่า : Ricky Kambuaya


2. มาร์เซลิโน่ เฟอร์ดินัน : Marcelino Ferdinan


3. มาร์ค คล็อค : Marc Klok


4. รัคมัต อีร์ยานโต : Rachmat Irianto


5. ชะฮ์รียัน อาบีมันยู : Syahrian Abimanyu


6. ซาร์กี้ อัสราฟ : Dzaky Asraf


7. ยากูบ ซายูรี : Yakob Sayuri



กองหน้า ( ตัวรุก ) 7 คน


1. อิลิยา สปาโซเยวิช : Ilija Spasojevic  เกิดที่มอนเตเนโกร


2. เดนดี้ สุลิสตยวัน : Dendy Sulistyawan


3. รามาดาน ซานานทา : Ramadhan Sananta


4. มูฮัมมัด ราฟลี่ : Muhammad Rafli


5. วิตัน ซูเลมาน : Witan Sulaeman เล่นที่ AS Trenčín สโมสรสโลวักซูเปอร์ลีกา


6. เอกี้ เมาลานา ฟิกรี้ : Egy Maulana Vikri  สโมสรฟุตบอลวิออน ซาลาเต โมราฟเซ  สโลวัก ซูเปอร์ลีกา


7. ซัดดิล รัมดานี่ : Saddil Ramdani


มีโปรแกรมแข่งรอบแบ่งกลุ่มดังนี้


23 ธันวาคม พ.ศ. 2565 : อินโดนีเซีย - กัมพูชา 16:30


26 ธันวาคม พ.ศ. 2565 : บรูไน - อินโดนีเซีย 17:00


29 ธันวาคม พ.ศ. 2565 : อินโดนีเซีย - ไทย 16:30


2 มกราคม พ.ศ. 2566 : ฟิลิปปินส์ - อินโดนีเซีย 19:30





รายชื่อทีมชาติเวียดนาม ชุด เอเอฟเอฟคัพ 2022

 


รายชื่อทีมชาติเวียดนาม ชุด เอเอฟเอฟคัพ 2022

รายชื่อทีมชาติเวียดนาม ชุด เอเอฟเอฟคัพ 2022


เวียดนามประกาศรายชื่อ 25 นักเตะชุดลุยศึก อาเซียนคัพ AFF 2022 เพื่อทวงแชมป์คืนจากไทย


ส่วนใหญ่เป็นนักเตะในฟุตบอลลีก ภายในประเทศ


รายชื่อทีมชาติเวียดนาม ชุด เอเอฟเอฟคัพ 2022


โดยมีรายชื่อดังนี้


ผู้รักษาประตู 3 คน


1. ดัง วาน ลัม : Đặng Văn Lâm


2. ตรัน เหงียน มานห์ : Trần Nguyên Mạnh


3. เหงียน วาน ต่วน : Nguyễn Văn Toản



กองหลัง 10 คน


1. โด ดุย มานห์ : Đỗ Duy Mạnh


2. ดวน วาน เฮา : Đoàn Văn Hậu


3. เหงียน ตันห์ ฉุง : Nguyễn Thành Chung


4. บุย ฮอง เวียตอันห์ : Bùi Hoàng Việt Anh


5. บุย เทียน ดุง : Bùi Tiến Dũng


6. เหงียน ตันห์ บิน : Nguyễn Thanh Bình


7. เหงียน ฟง ฮงซุย : Nguyễn Phong Hồng Duy


8. วู วาน ธันห์ : Vũ Văn Thanh


9. เกว ง็อก ไฮ่ : Quế Ngọc Hải


10. โฮ ทัน ไท : Hồ Tấn Tài



กองกลาง 8 คน


1. เหงียน ควง ไฮ่ : Nguyễn Quang Hải จากลีกเดอซ์ ฝรั่งเศส ทีม Pau FC


2. เหงียน ตวน อันห์ : Nguyễn Tuấn Anh


3. โด ฮุง ดุง : Đỗ Hùng Dũng  * กัปตันทีม และเป็นตัวอายุเกิน 23 ปี ตอนเล่นซีเกมส์ได้แชมป์ที่เวียดนามด้วย


4. ฟาน วัน ดึ๊ก : Phan Văn Đức


5. เหงียน ฮหว่าง ดึ๊ก : Nguyễn Hoàng Đức


6. ควต วัน คัง : Khuất Văn Khang


7. เจิว หง็อก กวาง : Châu Ngọc Quang


8. เหงียน ไฮ่ ฮุย : Nguyễn Hải Huy



กองหน้า 4 คน


1. ฝั่ม ตวน ไฮ : Phạm Tuấn Hải


2. เหงียน วาน เกวียต : Nguyễn Văn Quyết


3. เหงียน วาน ตวน : Nguyễn Văn Toàn


4. เหงียน เตี๋ยน ลิญ : Nguyễn Tiến Linh  **เป็นตัวอายุเกิน 23 ปี ตอนเล่นซีเกมส์ได้แชมป์ที่เวียดนามด้วย


รอบแบ่งกลุ่ม เวียดนาม อยู่ร่วมสายบี กับ มาเลเซีย, สิงคโปร์, เมียนมาร์และ ลาว


มีโปรแกรมแข่งรอบแบ่งกลุ่มดังนี้


21 ธันวาคม พ.ศ. 2565 : ลาว - เวียดนาม 19:30 


27 ธันวาคม พ.ศ. 2565 : เวียดนาม - มาเลเซีย 19:30


30 ธันวาคม พ.ศ. 2565 : สิงคโปร์ - เวียดนาม 19:30


3 มกราคม พ.ศ. 2566 : เวียดนาม - พม่า 19:30





AFF 2022 เอเอฟเอฟ อาเซียนคัพ

 


AFF 2022 เอเอฟเอฟ อาเซียนคัพ

AFF 2022 เอเอฟเอฟ อาเซียนคัพ


ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2022 หรือ เอเอฟเอฟ มิตซูบิชิ อิเล็กทริค คัพ 2022 ตามชื่อของ

ผู้สนับสนุนหลัก เอเอฟเอฟ อาเซียนคัพ ครั้งนี้จัดเป็นครั้งที่ 14 แล้ว จะเริ่มฟาดแข้งกันในวันที่ 

20 ธันวาคม 2022 โดยตัวเต็ง ในครั้งนี้ มี 4 ทีม คือ ไทย (แชมป์เก่า)  อินโดนีเซีย (รองแชมป์และ

ทีมพลังหนุ่ม) เวียดนาม ( อันดับฟีฟ่าดีสุดในอาเซียน) และมาเลเซีย ( เป็นทีมที่ไม่ควรมองข้ามสักครั้ง)

โดยอาจจะมี สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ เข้ามาสอดแทรกได้บ้าง ไม่มีใครทราบ รายการนี้ก่อนหน้านั้นไทย

ได้มาแล้ว 6 สมัย

AFF 2022 เอเอฟเอฟ อาเซียนคัพ


กลุ่ม A มี ไทย ,ฟิลิปปินส์ ,อินโดนีเซีย ,กัมพูชา ,บรูไน


กลุ่ม B มี เวียดนาม ,มาเลเซีย ,สิงคโปร์ ,พม่า ,ลาว


โปรแกรมการแข่งขัน AFF 2022 รอบแบ่งกลุ่ม ของทีมชาติไทย


- 20 ธันวาคม พ.ศ. 2565 : ไทย - บรูไน  5-0


- 26 ธันวาคม พ.ศ. 2565 : ไทย - ฟิลิปปินส์ 4-0


- 29 ธันวาคม พ.ศ. 2565 : ไทย - อินโดนีเซีย 1-1 ( เจ้าแคมป์โดนใบแดง )


- 2 มกราคม พ.ศ. 2566 : ไทย - กัมพูชา 3-1




โปรแกรมการแข่งขัน AFF 2022 รอบแบ่งกลุ่ม


20 ธันวาคม พ.ศ. 2565 : กัมพูชา - ฟิลิปปินส์ 3-2


20 ธันวาคม พ.ศ. 2565 : บรูไน - ไทย 0-5 


21 ธันวาคม พ.ศ. 2565 : พม่า - มาเลเซีย 0-1   ที่ย่างกุ้งเมืองหลวงเก่าของพม่า


21 ธันวาคม พ.ศ. 2565 : ลาว - เวียดนาม 0-6 ที่เวียงจันทน์เมืองหลวงลาว


23 ธันวาคม พ.ศ. 2565 : ฟิลิปปินส์ - บรูไน 5-1


23 ธันวาคม พ.ศ. 2565 : อินโดนีเซีย - กัมพูชา 2-1


24 ธันวาคม พ.ศ. 2565 : สิงคโปร์ - พม่า  3-2


24 ธันวาคม พ.ศ. 2565 : มาเลเซีย - ลาว 5-0


26 ธันวาคม พ.ศ. 2565 : บรูไน - อินโดนีเซีย 0-7


26 ธันวาคม พ.ศ. 2565 : ไทย - ฟิลิปปินส์ 4-0  เล่นที่ปทุมธานี


27 ธันวาคม พ.ศ. 2565 : ลาว - สิงคโปร์ 0-2


27 ธันวาคม พ.ศ. 2565 : เวียดนาม - มาเลเซีย 3-0


29 ธันวาคม พ.ศ. 2565 : อินโดนีเซีย - ไทย 1-1


29 ธันวาคม พ.ศ. 2565 : กัมพูชา - บรูไน 5-1


30 ธันวาคม พ.ศ. 2565 : พม่า - ลาว 2-2


30 ธันวาคม พ.ศ. 2565 : สิงคโปร์ - เวียดนาม 0-0


2 มกราคม พ.ศ. 2566 : ไทย - กัมพูชา 3-1


2 มกราคม พ.ศ. 2566 : ฟิลิปปินส์ - อินโดนีเซีย 1-2


3 มกราคม พ.ศ. 2566 : เวียดนาม - พม่า 3-0


3 มกราคม พ.ศ. 2566 : มาเลเซีย - สิงคโปร์ 4-1



โปรแกรมการแข่งขัน AFF 2022 รอบรองชนะเลิศ ( 4 ทีมสุดท้าย ) * แข่งเหย้าเยือน


6 มกราคม พ.ศ. 2566 : อินโดนีเซีย 0 - 0 เวียดนาม  ( เลก1 )


7 มกราคม พ.ศ. 2566 : มาเลเซีย 1 - 0 ไทย  ( เลก1 )


9 มกราคม พ.ศ. 2566 : เวียดนาม 2 - 0 อินโดนีเซีย ( เลก2 ) ผลรวม เวียดนามชนะ 2-0 เข้าชิง


10 มกราคม พ.ศ. 2566 : ไทย 3 - 0 มาเลเซีย ( เลก2 ) ผลรวม ไทยชนะ 3-1 ไทยเข้าชิง


โปรแกรมการแข่งขัน AFF 2022 รอบชิงชนะเลิศ* แข่งเหย้าเยือน


13 มกราคม พ.ศ. 2566 : เวียดนาม 2 - 2 ไทย ( เลก 1 )


16 มกราคม พ.ศ. 2566 : ไทบ 1 - 0 เวียดนาม ( เลก2 ) ผลรวม 3-2 ไทยได้แชมป์เป็นสมัยที่ 7 



AFF 2022 เอเอฟเอฟ อาเซียนคัพ แชมป์คือ  ไทยแลนด์ THAILAND







รวมผล 2 นัด 


** ทีมชาติไทยในฟุตบอลอาเซียนครั้งนี้ นั้นใช้ตัวภายใน ลีกฟุตบอลภายในประเทศ และเป้นตัวผู้เล่น

ที่ไม่เต็มชุด ที่มีของไทยรวมไปถึงไม่มีนักเตะจาก ลีกต่างประเทศของไทยเข้าร่วมการแข่งขัน 

เพราะไม่ตรงกับ ฟีฟ่าเดย์


วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ชื่อเดิม หรือ เมืองหลวงเก่า ของแต่ละประเทศอาเซียน

 


ชื่อเดิม  หรือ เมืองหลวงเก่า ของแต่ละประเทศอาเซียน

ชื่อเดิม  หรือ เมืองหลวงเก่า ของแต่ละประเทศอาเซียน


ชื่อเดิม  หรือ เมืองหลวงเก่า ของแต่ละประเทศอาเซียน



ลาว - เวียงจันทน์ คือเมืองหลวงของลาว แต่เดิม เทื่อก่อนใช้ชื่อว่า กรุงศรีสัตนาคคนหุต 

วิสุทธิ์รัตนราชธานีบุรีรมย์ ตั้งชื่อโดยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ซึ่งก่อนนี้ ก็เป็นจุดศูนย์กลาง

ของล้านช้างแต่เดิมมา ก่อนแยกเป็น 3  อาณาจักร สุดท้าย จึงตกเป็นอาณานิคม ของฝรั่งเศส

หลังจากได้เอกราชมา เวียงจันทน์ ก็ยังคงได้รับเลือกให้เป็นเมืองหลวงของ ลาว 

หรือชื่ออย่างเป็นทางการที่ว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว





พม่า - ย่างกุ้ง อย่างที่เรารู้กันพม่าพึ่งเปลี่ยนเมืองหลวงใหม่เป็น เนปิดอ ทำให้ย่างกุ้งสิ้นสุดการ

เป็นเมืองหลวงของพม่าวนช่วงปี 2006 นี่เอง แต่ย่างกุ้ง หรือ ยานโกน  ก็ยังเป็นเมืองใหญ่ที่สุดของ

พม่าอยู่ดี แต่โดยสมัยก่อนที่พม่าจะตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษนั้น มัณฑะเลย์ ก็คือเมืองหลวงของพม่า 

ในสมัยพระเจ้ามินดง กษัตริย์องค์สุดท้าย ของพม่า ก่อนเสียให้อังกฤษ





ไทย - เมืองหลวงเดิมของไทย หรือสยามนั้น ก่อนจะมาเป็นกรุงเทพมหานคร คือ กรุงธนบุรี หรือ

ชื่อที่เรียกว่า กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร ที่พระเจ้าตากได้สถาปนาขึ้นเป็นเมืองหลวงและทรงปราบดาภิเษก

ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ หลังกอบกู้บ้านเมืองจากกรุงศรีแตกได้สำเร็จ ก่อนหน้ากรุงเทพหรือยุครัตนโกสินทร์ 

ไทยมีเมืองหลวงมาอย่างน้อย 3 แห่ง คือ  สุโขทัย อยุธยา ธนบุรี จึงมาเป็นกรุงเทพมหานคร นี่ยังไม่นับรวม

ตอนเป็นละโว้ หรือ ทวารวดี ที่เก่าแก่กว่าสุโขทัยอีก





เวียดนาม - ถ้าเราจะข้าม อดีต อย่างเวียดนามเหนือที่มี ไซ่ง่อน หรือโฮจิมินห์ ตั้งชื่อตามผู้นำคนแรก

ของเวียดนาม และ เวียดนามใต้ ที่มีฮานอย เป็นเมืองหลวง ตอนที่เวียดนาม ยังแตกเป็นเหนือใต้อยู่ 

แบบนี้เราข้ามมาดูกันว่าในยุคที่มีกษัตริย์ปกครองและเวียดนาม หรืออันนัม ยังเป็นแผ่นดินเดียวกัน 

ก่อนเกิดการล่าอาณานิคม และช่วงตกเป็นอาณานิคม นั้น มีเมืองอะไรเป็นเมืองหลวง นั้นก็คือเมืองเว้ 

เมืองหลวงเก่าของเวียดนามสมัยราชวงศ์เหงียน ราชวงศ์สุดท้ายของเวียดนามก่อนเกิดการ

เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง และแยกเป็น2 ประเทศก่อนกลับมาเป็นปึกแผ่นเช่นปัจจุบัน เมืองเว้นั้น 

มีโบราณสถานอยู่ทั่วเมือง จนได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกของยูเนสโก้ สมกับเป็นเมืองหลวงเก่า 

เพราะตั้งอยู่ตรงกลางประเทศพอดีเลย





มาเลเซีย - เนื่องจากมาเลเซียนั้นเป็นประเทศเกิดใหม่ เพราะเมื่อก่อนนั้นเป็นเมือง แยกกันหลายๆรัฐ

ต่อมาได้รวมตัวกันเพื่อขอเอกราชจากอังกฤษ จึงเกิดเป็นมาเลเซียขึ้น จึงนับว่า กัวลาลัมเปอร์ เป็น

เมืองหลวงของมาเลเซียมาแต่นั้น เพราะก่อนหน้าที่เป็นรัฐมีสุลต่านปกครองกันเองนั้น มีเมืองหลวง

ของแต่ละรัฐอยู่แล้ว และอาจจะเรียกได้ว่ากัวลาลัมเปอร์ เป็นเมืองหลวงเก่าก็ว่าได้ เพราะมาเลเซีย

ได้ตั้งเมืองหลวงอีกแห่งคู่กันตั้งขึ้นใหม่คือ ปุตราจาย่า ซึ่งใช้เป็นเมืองหลวงด้านการบริหารแผ่นดิน 

แต่กัวลาลัมเปอร์ก็ยังคงเป็นเมืองหลวงด้านเศรษฐกิจ การค้า และการเงิน ของมาเลเซียเช่นเดิม





กัมพูชา - อุดงมีชัย หรือ อุดงฦาไชย เรียกสั้นว่า อุดง เป็นเมืองหลวงของยุคอาณาจักรเขมรอุดง 

หรือที่เรียกว่าวุคมืดของเขมร เพราะยุคนี้เขมรเสื่อมอำนาจลงอย่างมาก ถูกทั้งเวียดนามและไทยสยาม

เวลานั้นรุกราน ญวน กรุงศรีอยุธยา และกรุงธนบุรี เข้ามาเป็นเจ้าประเทศราชเขมรยุคนั้นต่อเนื่องจนไปถึง

ยุคที่ตกเป็นเมืองขึ้นอาณานิคมของฝรั่งเศส กัมพูชาก็ยังใช้เมืองอุดงเป็นเมืองหลวง แต่ก็มีการเปลี่ยนมาใช้

พนมเปญ ในปี พ.ศ. 2410 ช่วงที่เปลี่ยนนั้นก็ยังคงเป็นอาณานิคม ของฝรั่งเศสอยู่ เมืองอุดงมีชัยนั้น

ตั้งอยู่ห่างออกไป เรื่อย40 กิโลเมตร ทางตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงพนมเปญ เมืองหลวงปัจจุบัน 





อินโดนีเซีย - ที่จริงแล้ว เมืองหลวงปัจจุบัน คือ จาการ์ต้า นั้น ก็จะถือเป็นอดีตเมืองหลวง หรือ

เมืองหลวงเก่าแล้วในปี2024 เพราะรัฐบาลอินโดนีเซีย จะตั้งเมืองหลวงใหม่คือ นุซันตารา ( Nusantara) 

ที่อยู่ในเขตกาลิมันตัน บนเกาะบอร์เนียว ซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน เป็นลำดับที่ 2 และลำดับที่3

ของโลก โดยที่จะให้นุซันตารา  เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจแห่งใหม่ของประเทศ เหตุที่จะย้ายจาก

จาการ์ตา คือ จาการ์ตากำลังจะกลายเป็นเมืองบาดาลในอนาคต มีแผ่นดินทรุด ประชากรหนาแน่นเกินไป

แก้ไขโครงสร้างผังเมืองได้ยาก แล้วถ้าพูดถึงเมืองหลวงเก่าของอินโดก่อนจะมาเป็นจาการ์ตา คืออะไร

หละ คำตอบคือ ยอร์คจาการ์ต้า นั่นเองโดยเป็นเมืองหลวงของ สหรัฐอินโดนีเซีย ช่วงที่เนเธอแลนด์ 

ตั้งขึ้นเพื่อรวมอำนาจจากหมู่เกาะต่างๆของอินโดนีเซีย ยกเว้นนิวกินี เป็นการสิ้นสุดความขัดแย้งต่างๆ

กับ อินโดนีเซียนำไปสู่เอกราช ของอินโดนีเซีย เมืองหลวงแห่งนี้อยู่ได้ราวๆ 1 ปี ก็กลายเป็นอดีต

อินโดนีเซียตั้งจาการ์ตา ขึ้นมาแทน





สิงคโปร์ - ประวัติศาสตร์นั้นไม่แน่นอนนัก ทราบเพียงว่าดินแดนเล็กๆแห่งนี้ถูกปกครองโดยอาณาจักร

มัชปาหิต และสยาม และมะละกา ตลอดจนเป็นเมืองขึ้นของโปรตุเกส  ฮอลันดา และอังกฤษในยุคล่า

อาณานิคม โดยที่วไปแล้วด้นแดนแห่งนี้ถูกเรียกว่า เทมาเส็ก หรือเทืองทะเลเป็นเพียงเมืองที่เคยอยู่

ในพื้นที่เกาะสิงคโปร์ ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นสิงหปุระ  ซึ่งถูกนำมาโยงเป็นชื่อเดิมของสิงคโปร์ โดย

พื้นที่แห่งนี้อาจเป็นเพียงแค่หมู่บ้านชาวประมง เท่านั้นจึงไม่ได้ถูกนับว่าเป็นเมืองใหญ่ที่ต้องมีเมืองหลวง

แต่อย่างใดในยุคก่อนที่จะเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษจนภายหลังแยกตัวมาจากมลายา กลายเป็น

ประเทศสิงคโปร์ในปัจจุบัน





บรูไน บันดาร์ลาบวนเป็นเมืองหลวงของดินแดนสหพันธรัฐลาบวนในมาเลเซียซึ่งเป็นกลุ่มเกาะ

นอกชายฝั่งทางเหนือของเกาะบอร์เนียว ตั้งอยู่ที่มุมตะวันออกเฉียงใต้ของลาบวน และมีชื่อมาเลย์ว่า 

บันดาร์ วิกตอเรีย นิยมใช้ในรัชสมัยของสมเด็จพระราชินีวิกตอเรีย 




ฟิลิปปินส์ - เกซอนซิตี้ เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุดในประเทศฟิลิปปินส์ เคยเป็น

เมืองหลวงของฟิลิปปินส์ระหว่างปี ค.ศ. 1948–1976 ตั้งอยู่บนเกาะลูซอน  ซึ่งฟิลิปปินส์นั้น มีเมืองหลวง

หลายแห่ง แห่งแรกคือที่เซบู แต่ก่อนจะเป็นมะนิลาในปัจจุบันนั้น เกซอนซิตี้คือเมืองหลวงของฟิลิปปินส์

อยู่ราวๆ 27 ปี เป็นที่รู้จักจากวัฒนธรรม อุตสาหกรรมบันเทิง และสื่อ และได้รับการขนานนามว่า 

"เมืองแห่งดวงดาว" 




วันอาทิตย์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2565

เหรียญโอลิมปิกเหรียญแรกของแต่ละประเทศอาเซียน

 


เหรียญโอลิมปิกเหรียญแรกของแต่ละประเทศอาเซียน

เหรียญโอลิมปิกเหรียญแรกของแต่ละประเทศอาเซียน


ไม่ว่าจะเหรียญโอลิมปิก ที่เป็นเหรียญทอง เงิน ทองแดง ขอแค่เป็นเหรียญแรกของแต่ละประเทศ

ละกันเนอะ มาดูกันว่าประเทศไหนบ้างในอาเซียน ที่ได้เหรียญโอลิมปิกเหรียญแรกจากกีฬาอะไร 

เหรียญอะไร โอลิมปิกของชาติในอาเซียนมัน ก็ไม่มากและไมได้มีทุกประเทศที่ได้เหรียญหรอกนะคับ

เพราะว่ามันเป็นโอลิมปิกความเข้มข้นของการแข่งขันสูงมาก ไม่เหมือนกีฬาอาเซียน ( ซีเกมส์ ) 

ที่แข่งกันแต่พวกเราชาวอาเซียน

เหรียญโอลิมปิกเหรียญแรกของแต่ละประเทศอาเซียน


1. ไทย : พเยาว์ พูนธรัตน์ ฮีโร่โอลิมปิกคนแรกของไทย อดีตแชมเปี้ยนโลกชาวไทยคนที่ 7  ในกีฬาที่

โกยเหรียญให้ไทยมากมายในโอลิมปิก อย่าง มวยสากลสมัครเล่น เป็นเหรียญทองแดงนะคับ ที่ 

มอนทรีอัล 1976 (แคนาดา) ปัจจุบันท่านจากโลกนี้ไปแล้วตั้งแต่ปี 2549 ส่วนเหรียญทองแรกนั้น คือ 

สมรักษ์ คำสิงห์ ยอดมวยไทย ที่ไปชกสากลสมัครเล่น นักมวยไทยส่วนใหญ่ก็มาจาก กีฬาประจำชาติ

อย่างมวยไทยหลายคน ต่อยอดไปชกสากลสมัครเล่น และสากล สร้างชื่อให้ประเทศมากมาย



2. อินโดนีเซีย : ใครๆก็คิดว่าอินโด นี่ต้องแบดมินตันแน่ๆ กีฬายอดนิยม และกีฬาประจำชาติของ

อินโดนีเซียเลย แต่ไม่ใช่นะคับ จริงอยู่ว่า อินโดได้เหรียญนับแบบผ่านๆ ก็คือ แบด ในมิวนิคปี 1972 

แต่ตอนนั้นเป็นกีฬาสาธิต เขาจึงไม่นับอย่างเป็นทางการ อินโดได้เหรียญโอลิมปิกแรงอย่างเป็นทางการ

จริงๆคือ ที่ โซล 1988 เป็นเหรียญเงิน จากกีฬายิงธนู ยิงธนูประเภททีมหญิง โดยมี 3 ท่านในทีม คือ

Lilies Handayani ลีลีซ ฮันดายานี / Nurfitriyana Saiman นูร์ฟีตรียานา ซัลมัน / Kusuma Wardhani 

กูซูมา วาร์ดานี อินโดนั้น ได้เหรียญทองจากแบด ถึง 8 เหรียญ ซึ่งเป็นประเภทเดียวที่ได้เหรียญทอง

ส่วน ยกน้ำหนักที่ได้เยอะๆ ก็ได้แต่เงิน กับทองแดง คิดผ่านๆใครคงไม่นึกว่า เหรียญแรกของอินโด 

นั้นมาจากยิงธนู หญิงซะด้วย แล้วได้แค่ 1 เหรียญนั้นเลย ที่เหลือคือ แบด และ ยกน้ำหนัก




3. มาเลเซีย : เหรียญทั้งหมดในโอลิมปิกจนถึงตอนนี้ของมาเลย์ 4 เหรียญ ( ข้อมุล ณ วันที่ 22 /10 / 2022 )

 มีแต่กีฬาแบดมินตัน แน่นอนว่า เหรียญโอลิมปิกแรกของมาเลย์นั้นมาจากแบดแน่นอน แบดมินตันนี่ 

เป็นกีฬาที่ชาวอาเซียนเก่งระดับโลก จริงๆ ทั้งอินโด มาเลย์ ไทย สิงคโปร์ ล้วนเก่งมาก โอเคมาต่อที่

เหรียญแรกมาเลย์ มาจาก แบดมินตัวชายคู่ เป็นเหรียญทองแดง เกิดขึ้นใน บาร์เซโลนา 1992 จาก 

Razif Sidek ราซิฟ ซิเด็ก / Jalani Sidek จาลานี ซิเด็ก 



4. เวียดนาม : ถ้าพูดถึงเหรียญแรกของเวียดนาม เกิดขึ้นใน ซิดนีย์ 2000 เป็นเทควันโด หญิง รุ่น 57 กก.

 คือเหรียญเงิน จาก Trần Hiếu Ngân เจิ่น เฮี้ยว เงิน

แต่ถ้าเป็นทองแรกนั้น ได้จาก ปืนสั้นอัดลมบุคคลชาย ฮอง ซวน วินห์ ยิงได้ ในโอลิมปิกริโอ 2016 



5. สิงคโปร์ : เหรียญแรกของพี่สิงคโปร์นั้น ได้ก่อนไทยอีกนะคับ ได้จาก ยกน้ำหนักชาย ในโอลิมปิกที่

โรม 1960 โดย Tan Howe Liang ถัน โฮว์ เลียง ในรุ่น 67.5 กิโลกรัม เป็นเหรียญเงินนะคับ เหรียญทองปี

นั้นคือ Viktor Bushuev จาก สหภาพโซเวียต ส่วนทองแรกของสิงคโปร์นั้นกว่าจะได้ก็รอมาถึง ปี 2016 

ที่ริโอ บราซิลเลย จากว่ายน้ำผีเสื้อ 100 เมตรชาย โดย Joseph Schooling โจเซฟ สกูลิ่ง โดยปีนั้น 

Michael Phelps ตำนานนักว่ายน้ำชาวสหรัฐ ก็ยังแข่งอยู่ด้วย โดยได้ที่ 4



6. ฟิลิปปินส์ : ฟิลิปินส์ อยู่ใต้การปกครองของสเปนและสหรัฐ ได้รับเอกราช มาช่วง 1920 ใช้เวลาแค่ 

4 ปี หรือหลังจาก เข้าร่วมไป สมัยเดียว สมัยที่ 2 ก็ได้เหรียญเลย หลังจากเข้าร่วมครั้งแรก ที่ปารีส 1924 

มาได้เหรียญโอลิมปิกแรกใน โอลิมปิกที่อัมสเตอร์ดัม 1928 เป็นเหรียญทองแดง จากว่ายน้ำท่ากบ 200

เมตรชาย โดย Teófilo Yldefonso ทิโอฟิโล ยิลเดฟอนโซ่ เป็นคนฟิลิปปินส์และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

คนแรกที่ได้รับเหรียญโอลิมปิกและสามารถคว้าได้ 2 สมัย ในปี 1928 และ 1932 เป็นทองแดงทั้ง 2 สมัย

 ส่วนทองแรกของฟิลิปปินส์ เป็น ยกน้ำหนักหญิง 55 กิโลกรัม โดย Hidilyn Diaz ไฮดีลีน ดิแอซ

ใน โอลิมปิกที่โตเกียวปี 2020 


7. พม่า : เข้าแข่งขันครั้งแรกใน ลอนดอน 1948 แต่ยังไม่เคยได้เหรียญใด ก่อนหน้านั้น ตกเป็นอาณานิคม

ของจักรวรรดิอังกฤษ


8. ลาว : เข้าแข่งขันครั้งแรกที่ มอสโก 1980 ยังไม่เคยได้เหรียญใด


9. กัมพูชา : เข้าแข่งขันครั้งแรกใน เมลเบิร์น 1956 บังไม่เคยคว้าเหรียญใดมาได้


10. บรูไน : เข้าร่วมแข่งขันใน แอตแลนตา 1996 (เป็นประเทศในอาเซียนที่เข้าร่วมโอลิมปิกน้อยที่สุด) 

และยังไม่สามารถคว้าเหรียญใดมาได้


วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ผู้นำคนแรกแต่ละประเทศ อาเซียน ( นายก / ประธานาธิบดี )

 



ผู้นำคนแรกแต่ละประเทศ อาเซียน ( นายก / ประธานาธิบดี )

ผู้นำคนแรกแต่ละประเทศ อาเซียน ( นายก / ประธานาธิบดี )


ผู้นำคนแรกแต่ละประเทศ อาเซียน ( นายกรัฐมนตรี / ประธานาธิบดี )



ผู้นำคนแรกแต่ละประเทศ อาเซียน ( นายก / ประธานาธิบดี )




1. ไทย : พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) Phraya Manopakorn Nitithada  ดำรงตำแหน่ง

นายกรัฐมนตรีสยามคนแรก หลังจากการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นการเปลี่ยนการปกครองจาก

สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ไปเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และเปลี่ยนรูปแบบการปกครองไปเป็น

ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยได้รับเลือกจากสมาชิกคณะราษฎร 



2. กัมพูชา : พระบาทสมเด็จพระ นโรดม สีหนุ Norodom Sihanouk   พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 112 

แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา



3. มาเลเซีย : ตุนกู อับดุล ระฮ์มัน Tunku Abdul Rahman  เป็นผู้นำการเรียกร้องเอกราชและนายก

รัฐมนตรีคนแรกของประเทศมาเลเซีย บิดาแห่งประเทศมาเลเซีย 



4. บรูไน : สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านฮัสซานัล โบลเกียห์  Hassanal Bolkiah ibni Omar Ali Saifuddien

 III สุลต่านองค์ที่ 29 แห่งบรูไน  และยังทรงเป็นสุลต่านบรูไนพระองค์แรกที่ทรงพระอิสริยยศเป็น

ยังดีเปอร์ตวน (สมเด็จพระราชาธิบดี)   เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของบรูไร และยังคงดำรงตำแหน่งอยู่ 

เป็นพระประมุขแห่งรัฐ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

ผู้นำทางศาสนาอิสลามแห่งเนการาบรูไนดารุสซาลาม  ศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองหลวง 

บันดาร์เซอรีเบอกาวัน



5. อินโดนีเซีย : ประธานาธิบดีซูการ์โน่ Sukarno มีส่วนสำคัญในการประกาศเอกราชของอินโดนีเซีย

ต่อเนเธอร์แลนด์  ลูกสาวของเขาคือ เมกาวาตี ซูการ์โนปูตรี ได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 5 

ของอินโดนีเซีย



6. สิงคโปร์ : ลี กวนยู / แฮร์รี ลี กวนยู Harry Lee Kuan Yew เป็นรัฐบุรุษและเนติบัณฑิตชาวสิงคโปร์ 

เป็นบิดาผู้ก่อตั้งประเทศ เป็นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่ง ประเทศสิงคโปร์นั้น ประมุขแห่งรัฐคือ

ประธานาธิบดี คนแรกคือ ยูซฟ บิน อิซฮัก แต่อำนาจบริหารหัวหน้ารัฐบาลของสิงคโปร์ นั้นเป็นหน้าที่

ของนายก



7. เวียดนาม : ประธานาธิบดีโฮจิมินห์ Hồ Chí Minh ถ้านับตอนเป็น สาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม

 (เวียดนามเหนือ) แต่ถ้านับตอนรวมเหนือ-ใต้แล้ว คนแรกที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี คือ โตน ดึ๊ก 

ทั้ง พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม และดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีของโฮจิมินห์ โฮจิมินห์ ชื่อของลุงโฮ

 ถูกนำไปตั้งเป็นชื่อของชื่อเดิม ไซ่ง่อน เป็นเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศเวียดนาม



8. ลาว : เจ้าสุภานุวงศ์ Souphanouvong เชื้อพระวงศ์ราชวงศ์ล้านช้างหลวงพระบาง ล้านช้าง คือชื่อเดิม

ประเทศลาว เช่นกัน ท่านเป็นประธานประเทศลาว คนที่ 1 ประธานก็คือ ประธานาธิบดี นั่นแหละคับ 

และเป็นหลังจากลาวเปลี่ยนแปลงการปกครองจากราชอาณาจักรมาเป็นสาธารณรัฐ 



9. พม่า : เจ้าส่วยแต้ก Sao Shwe Thaik หรือ เจ้าคำศึก  เป็นประธานาธิบดีแห่งสหภาพพม่าพระองค์แรก

และเป็นเจ้าฟ้าพระองค์สุดท้ายของเมืองยองห้วย สิ้นพระชนม์จากการถูกจับขังในคุกในย่างกุ้งหลังจาก

การรัฐประหารโดยนายพลเนวิน ผู้นำเผด็จการของรัฐบาลทหารของพม่า ส่วนนายกที่เป็นผู้นำรัฐบาล

ส่วนใหญจะมาจากคนในกองทัพ หรือบางคนเป็นเผด็จการ


 
10. ฟิลิปปินส์ : เอมีลีโอ อากีนัลโด้  Emilio Famy Aguinaldo นักปฏิวัติในการเรียกร้องเอกราชของ

ฟิลิปปินส์จากสเปน เป็นผู้นำในการลุกฮือขึ้นต่อสู้กับสเปนด้วยอาวุธมีบทบาทในการจัดตั้งสาธารณรัฐ

ฟิลิปปินส์ที่ 1 แยกออกมาจากการเป็นอาณานิคมของสเปน 





วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

ประเทศในอาเซียน ได้รับเอกราช จากตะวันตก วันไหน ปีไหนบ้าง

 


ประเทศในอาเซียน ได้รับเอกราช จากตะวันตก วันไหน ปีไหนบ้าง

  เป็นที่รู้กันว่า  ประเทศในอาเซียนทั้งหลายนั้น เคยตกเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตก เกือบทั้งหมด

ยกเว้นไทย บางชาตินั้นก็เข้าเป็นรัฐในอารักขา ก็มีบ้างส่วนบางประเทศก็ถูกตีเข้ายึดก็มี การต้องตก

เป็นอาณานิคมของฝรั่งนั้น แน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องที่คนพื้นเมืองชื่นชอบนัก และพยายามต่างๆนานา 

เพื่อจะให้ตัวเอง หลุดพ้นจากการควบคุมของเจ้าอาณานิคม วันนี้เราไมได้มาลงว่าพวกเขาทำอย่างไร 

เราจะมาลงข้อมูล วันเวลา ช่วงปี ที่เขาสามารถ ประกาศเอกราชให้ตัวเองได้ พร้อมข้อมูลอีกนิดหน่อย

เพราะว่าเวลาเราค้นหาช่วงวันเวลา มันจะได้ไม่ดูเยอะต้องมานั่งหากวาดตาหา เอาข้อมูลดิบๆที่ต้องการ

สื่อเลย เชื่อสิบางคนต้องการแค่วัน ปี ไม่ได้ต้องการอะไรมากมาย


เพราะต้องใช้ประกอบข้อสอบ การบ้าน หรืออ้างอิงเวลา ตอนที่ไปแสดงความเห็นให้ข้อมุลต่างๆอีก 

 อะ มาเริ่มกัน


เอกราช


1. ไทย : ไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของใคร ตรงตามความหมายของชื่อประเทศ ไทย คือ เสรีภาพ 



2. ฟิลิปปินส์  : หลุดพ้นจากการครอบครองของสเปน เมื่อ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1898 (พ.ศ. 2441) 

เนื่องจากสหรัฐชนะสงครามกับสเปน แต่ ฟิลิปปินส์ก็ต้องตกอยู่ใต้อำนาจสหรัฐอีกต่อนึง

อยู่ภายใต้การปกครองของสหรัฐอเมริกา 1898-1946 ระยะเวลา 48 ปี ก่อนจะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 

ทำให้ญี่ปุ่นเขายึกฟิลิปปินส์แทน ถ้านับวันที่ได้รับเอกราช จะนับจากการที่หลุดพ้นจาก

สเปนในวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1898 (พ.ศ. 2441)



3. อินโดนีเซีย : ได้รับเอกราชวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 1949 ( 2492 ) จากเนเธอร์แลนด์ เพราะญี่ปุ่น

ได้เข้ายึดอินโดจาก เนเธอร์แลด์ แต่ท้ายที่สุดญี่ปุ่นแพ้สงคราม ทำให้อินโดนั้น ประกาศเอกราชทันที 

ในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ.2488 โดยมี ซูการ์โน เป็น ประธานาธิบดีคนแรก* ของประเทศเป้นผู้นำ 

แต่ก็มีการต่อสู้กันอย่างหนักเพราะเนเธอร์แลนด์ไม่ยอมให้อินโดนีเซีย ได้เอกราช จนต้องเจรจาหา

ข้อตกลงกันหลายครั้ง จนมาสรุป ในวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2492 อินโดนีเซียจึงได้รับเอกราชจาก

เนเธอร์แลนด์ เนื่องจากสหประชาชาติกดดัน 



4. มาเลเซีย : ได้รับเอกราชวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1957 ( พ.ศ. 2500 ) หลังจาก สงครามโลก

ครั้งที่สอง นั้น อังกฤษ ก็ยังเข้าไปควบคุม ดินแดนมาลายา และ มะละกะ อย่างเข้มงวดกว่าก่อน 

ทำให้คนท้องถิ่นเกิดกระด้างกระเดื่อง ไม่พอใจเกิดการต่อต้านนำโดย ตนกู  อับดุล ราห์มาน 

นำผู้คนต่อต้านเพื่อประกาศเอกราชจากอังกฤษ จนสำเร็จในที่สุด ทำให้เขาได้ขึ้นมาเป็น นายกรัฐมนตรี

คนแรกของมาเลเซีย อีกด้วย



5. บรูไน : บรูไน ได้รับเอกราชในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1984 จากอังกฤษ เหมือนกับที่อื่นๆ เมื่อ 

ต้องตกเป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษ ผ่านญี่ปุ่นเข้ายึดครอง ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง 

ญี่ปุ่นแพ้สงคราม มีการคิดไว้ว่าจะเข้าร่วมกับ มาเลเซีย แต่โดนคัดค้าน ให้ไปรวมกับซาห์บา กับ 

ซาราวัค เพื่อตั้งประเทศใหม่แทน แต่เกิดความวุ่นวายจากกองทัพปลดแอกเสียก่อน 

จนอังกฤษต้องนำ ทหารกรูข่า เข้ามาดูแลความเรียบร้อยให้ ทำให้มาเลเซียตอนตั้งประเทศไม่มี

บรูไนรวมอยู่ด้วย ได้มีการเจรจาหารือ กันเกี่ยวกับเอกราชบรูไน จนในที่สุดก็ได้รับเอกราช

อย่างสมบูรณ์ ในวันที่ 1 มกราคม 1984



6. สิงคโปร์ ได้รับเอกราวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1965 จากอังกฤษ สิงคโปร์ทราบถึงว่าการได้รับ

เอกราชของมาเลเซีย ลีกวนยู ผู้นำของสิงคโปร์ตอนนั้น จึงรีบนำสิงคโปร์เข้าไปรวมกับสหภาพมลายา 

หรือมาเลเซียในปัจจุบันทันทีเพื่อที่จะได้รับเอกราชไปด้วย หลังจากรวมได้ 2 ปี เนื่องจากมาเลเซียนั้น

ค่อนข้างไม่ชอบเหยียมสิงคโปร์อยู่เนืองๆจึงบีบให้สิงคโปร์ต้องแยกตัวออกมาตั้งประเทศใหม่ ที่มีความ

เจริญก้าวหน้ากว่าใครในอาเซียน



7. กัมพูชา : ได้รับเอกราชวันที่ 9 พฤศจิกายน 1953 จากฝรั่งเศส โดยการเรียกร้องเอกราชของ 

พระนโรดม สีหนุ พระนโรดม สีหนุกลายเป็นวีรบุรุษของชาวกัมพูชา ได้รับเอกราชตามอนุสัญญาเจนีวา 



8. ลาว : ได้รับเอกราชวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 1975 จากการเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส กลุ่มคอมมิวนิสต์

หรือขบวนการประเทดลาวที่นำโดยเจ้าสุภานุวงศ์ พรรคประชาชนปฏิวัติลาว ประธานคนแรกของ

ประเทศลาว ที่ได้รับการสนับสนุนจาก สหภาพโซเวียต และ คอมเวียดนาม ได้ล้มล้างระบอบกษัตริย์

ของลาวและนำพาประเทศสู่ ชื่อประเทศชื่ออย่างเป็นทางการที่ว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

และได้ประกาศเอกราชจากฝรั่งเศสในวันเดียวกันด้วย ทุกวันที่ 2 ธันวาคมของทุกปีเป็นวันชาติ



9. เวียดนาม : ได้รับเอกราชวันที่ 2 กันยายน ปี 1945  เวียดนามประกาศเอกราช และได้สถาปนา

สาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนามอย่างเป็นทางการ นำโดย โฮจิมินห์ทำให้ฝรั่งเศสเข้าบุกเวียดนาม

อีกครั้ง ถึงจะยากลำบากแต่เวียดนามก็ต่อสู้จนฝรั่งเศสยอมถอยไปได้ทำให้เวียดนาม มีเอกราชอย่าง

สมบูรณ์  หลังตกเป็นอาณานิคมมาก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2



10. พม่า : ได้รับเอกราชวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2491 ได้รับเอกราชจากจักรวรรดิอังกฤษ จากการที่

รวมกันขอเอกราชจากอังกฤษ แล้วโดน นายพลเนวิน หักหลังนำมาสู่ปัญหามากมายของชนกลุ่มน้อย

ที่รวมกันในตอนแรกจนเป็นปัญหามาถึงทุกวันนี้ พม่าก็ไม่เคยสงบอีกเลย ทั้งสงครามกลางเมือง 

เผด็จการ ต่างๆนานาๆ





วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

ทำเนียบแชมป์ฟุตบอลอาเซียนคัพ AFF

 


ทำเนียบแชมป์ฟุตบอลอาเซียนคัพ AFF

ทำเนียบแชมป์ฟุตบอลอาเซียนคัพ AFF

ฟุตบอลถือเป็นกีฬายอดนิยม แทบจะทุกประเทศในอาเซียน ยกเว้น ฟิลิปปินส์ 

แต่กีฬาชาวอาเซียนเก่งระดับโลก นั้นไม่ใช่ฟุตบอลอย่างแน่นอน แต่ถึงกระนั้น

เวลามีการแข่งขันอย่างฟุตบอลซีเกมส์ หรือ ฟุตบอลชิงแชมป์อาเซียน ชาวอาเซียน

ก็เกิดความตื่นตัว คึกคักกันอย่างบ้าคลั่งเลยทีเดียว ตามข้อมูลนั้น ในอาเศียนมีชาติเดียว

คือสิงคโปร์ที่นับว่าฟุตบอล เป็นกีฬาประจำชาติ ก็พอเข้าใจได้ว่าสิงคโปร์เป็นประเทศใหม่ 

ไม่เหมือนไทย มาเลเซีย อินโด ที่มี มวยไทย เคมโป คาราเต้ หรือ ปันจักสีลัต หม่ามี ชินลง

ที่เป็นกีฬาที่จำเพาะเจาะจงของแต่ละประเทศ 

              พูดถึง แชมป์อาเซียน ถึงอาเซียนเราจะมี 10 ประเทศ+ 1 ติมอร์ ที่เข้ามาร่วมแข่งด้วย

บางปีจากการคัดเลือก แต่มีเพียง แค่ 4 ประเทศเท่านั้นที่เคยสัมผัสถึงถ้วยแชมป์ โดยยิ่งใหญ่

ที่สุดไม่ใช่ใครทีไหน ไทยเรานี่เอง ที่เป็นแชมป์ 7 สมัย  สิงคโปร์ประเทศเล็กๆเกิดใหม่ และมี

กีฬาประจำชาติเป็นฟุตบอล ก็ได้มาถึง 4 สมัย เวียดนาม 2 สมัย และมาเลเซียยุคทองช่วงปี 2010  

อีก 1 สมัย อินโดนีเซียซึ่งเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน และผู้คนคลั้งไคล้ฟุตบอลไม่แพ้ใคร

กลับไม่เคยได้แชมป์เลย ใน 13 ครั้งแรก เป็นได้แค่พระรอง 6 สมัย ซึ่งเป็นความเจ็บปวดของ

ชาวอินโดอย่างมาก มาดูกันว่า อินโดนีเซียจะสามารถคว้าแชมป์ได้ในปีไหนมาติดตามกัน


ทำเนียบแชมป์ฟุตบอลอาเซียนคัพ AFF



1.  ปี  1996 ไทย : 1-0 มาเลเซีย   ( เจ้าภาพ สิงคโปร์ )


2.  ปี  1998 สิงคโปร์  : 1-0 เวียดนาม   ( เจ้าภาพ เวียดนาม )


3.  ปี  2000 ไทย :  4-1 อินโดนีเซีย    ( เจ้าภาพ ไทย )


4.  ปี  2002 ไทย :   2-2 (จุดโทษ 4-2) อินโดนีเซีย   ( เจ้าภาพ อินโดนีเซีย / สิงคโปร์ )


ตั้งแต่ปี 2004 เป็นต้นไป จะมีเจ้าภาพรอบแบ่งกลุ่มเท่านั้น ส่วนรอบรอง และชิง เตะแบบเหย้าเยือน 

2 นัด เว้นปี 2018 ที่มีการแข่งแบบใหม่ ไม่มีเจ้าภาพรอบแบ่งกลุ่มแต่จะสุ่ม เตะนักเหย้า 2 นัด เยือน 

2 นัด 4เกม ในรอบแบ่งกลุ่ม ทั้งหมด 5 ทีม 

ง่ายๆ คือ ในรอบแบ่งกลุ่ม 4 นัด ทุกทีมจะได้เป็นเจ้าบ้าน 2 นัด เยือน 2 นัดแล้วแต่ดวงว่า นัดเป็น

เจ้าบ้านเจอใคร นัดเป็นทีมเยือนเจอใคร ส่วนรอบ รองและชิง นั้นเตะแบบเหย้าเยือนเหมือนปกติ 

รอบละ 2 นัด ส่วนปี 2020 นั้นความจริงคือเตะกันปลายปี 2021


     เนื่องจากสถานการณ์ไวรัสโควิด19 จากปี 2019 ทำไมโรคระบาดลากยาวมาเนิ่นนานจนได้แข่ง

ช่วงปลายปี 2021 แล้วจากเดิมที่ต้องเริ่มปี 2020


5.  ปี  2004 สิงคโปร์ :   3-1 / 2-1 อินโดนีเซีย   ( เจ้าภาพ มาเลเซีย / เวียดนาม )


6.  ปี  2007 สิงคโปร์ :   2-1 / 1-1 ไทย   ( เจ้าภาพ สิงคโปร์ / ไทย )


7.  ปี  2008 เวียดนาม : 2-1 / 1-1 ไทย  ( เจ้าภาพ อินโดนีเซีย / ไทย  )


8.  ปี  2010 มาเลเซีย :   3-0 / 1-2  อินโดนีเซีย ( เจ้าภาพ อินโดนีเซีย / เวียดนาม  )


9.  ปี  2012 สิงคโปร์ :    3-1 / 0-1  ไทย  ( เจ้าภาพ มาเลเซีย / ไทย )


10.  ปี  2014 ไทย :    2-0 / 2-3  มาเลเซีย  ( เจ้าภาพ สิงคโปร์ / เวียดนาม )


11.  ปี  1016 ไทย :   1-2 / 2-0  อินโดนีเซีย  ( เจ้าภาพ พม่า / ฟิลิปปินส์ )


12.  ปี  2018 เวียดนาม :    2-2 / 1-0  มาเลเซีย ( เจ้าภาพ รอบแรกเจ้าภาพสุ่มทีมในกลุ่ม )


13.  ปี  2020 ไทย :    4-0 / 2-2  อินโดนีเซีย ( เจ้าภาพ  สิงคโปร์ )


14.  ปี  2022 ไทย :   2-2 / 1-0  เวียดนาม   ( เจ้าภาพ รอบแรกเจ้าภาพสุ่มทีมในกลุ่ม )



วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

กษัตริย์พระองค์สุดท้ายของกลุ่มประเทศ CLMV อาเซียน

 



กษัตริย์พระองค์สุดท้ายของกลุ่มประเทศ CLMV อาเซียน

กษัตริย์พระองค์สุดท้ายของกลุ่มประเทศ CLMV อาเซียน


ประเทศ CLMV


กษัตริย์พระองค๋สุดท้ายของกลุ่มประเทศ CLMV อาเซียน


CLMV ย่อมาจาก ชื่อประเทศในกลุ่มคือ กัมพูชา (Cambodia)- ลาว (Laos) - เมียนมาร์ (Myanmar) -

 เวียดนาม (Vietnam)



กัมพูชา (Cambodia) = เขมรยังมีพระมหากษัตริย์อยู่ เป็นราชอาณาจักร โดยกษัตริย์องค์ปัจจุบัน

คือ พระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี ผู้นำเชิงสัญลักษณ์ซึ่งได้รับความเคารพจากสาธารณชน

เริ่มวาระ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2547 เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ




ลาว (Laos) = สมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวัฒนา  หรือ เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนาเป็นพระมหากษัตริย์

องค์สุดท้ายแห่งราชอาณาจักรลาว ก่อนที่จะสละราชสมบัติ หลังพรรคประชาชนปฏิวัติลาวเข้ากุมอำนาจ

รัฐสำเร็จ (คอมมิวนิสต์ลาว) ยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ใน พ.ศ. 2518     ครองราชย์ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2502 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2518 

หลังจากพระองค์สละราชสมบัติประเทศลาวก็อยู่ในระบอบการปกครองสังคมนิยม

 มีพรรคปฏิวัติประชาชนลาว(The Lao People’s Revolutionary Party : LPRP) หรือพักลัด 

เป็นพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียว 




เมียนมาร์ (Myanmar) = พระเจ้าธีบอ หรือ พระเจ้าสีป่อ พระมหากษัตริย์พม่าพระองค์สุดท้ายแห่ง

ราชวงศ์คองบอง ถูกบังคับให้สละราชสมบัติและเนรเทศไปอยู่ที่เมืองรัตนคีรีในบริติชราช หลังสิ้นสงคราม

อังกฤษ - พม่าครั้งที่สาม และสวรรคตเมื่อ พ.ศ. 2459

ปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์คองบองคือ พระเจ้าอลองพญา ล่วงเลยมาจน พระมหากัษริย์พระองค์สุดท้าย

เพียงแค่ 11 รัชกาลเท่านั้น พระเจ้าธีบอ เสียเมืองแก่อังกฤษ ถูกเนรเทศไปอินเดียและสวรรคตที่นั่น

ครองราชย์  1 ตุลาคม พ.ศ. 2421 – 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428 (7 ปี 58 วัน)  หลังจาก มัณฑะเลย์

ถูกอังกฤษยึดในวันที่ 28 พฤศจิกายน พระเจ้าสีป่อและพระนางศุภยาลัตยอมแพ้

ทั้งสองพระองค์เสด็จลงเรือไปยังย่างกุ้งและถูกเนรเทศไปอินเดีย ประทับที่รัตนคีรีในบริติชราช  

และสวรรคตเมื่อ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2459 พระศพของพระองค์ฝังไว้ใกล้ ๆ สุสานของชาวคริสต์

นับเป็นการสิ้นสุดระบอบกษัติรย์ของพม่าตั้งแต่นั้นเป้นตันมา ( 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428 )




เวียดนาม (Vietnam) = จักรพรรดิบ๋าว ดั่ย พระนามเดิมว่า เหงียน ฟุก หวิญ ถวิ ทรงเป็นจักรพรรดิองค์ที่ 13

และพระองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์เหงียน ตั้งแต่ ค.ศ. 1926 - ค.ศ. 1945

ทรงสถาปนาจักรวรรดิเวียดนามในขณะที่ญี่ปุ่นยึดครองอินโดจีนในสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งตอนนั้น

เวียดนามเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสอยู่ก่อน ต่อมาได้ทรงสละราชสมบัติและมอบอำนาจให้โฮจิมินห์ 

อันเป็นจุดจบของระบอบราชาธิปไตยของเวียดนาม

ในวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1945 แต่กลับขึ้นสู่อำนาจอีกครั้ง และโดนขับออกจากอำนาจอีก ต้องไปศึกษา

รายละเอียดลึกๆเพราะมีเรื่องการประกาศอิสระ และพรรคคอม เวียดนาม หุ่นเชิดตะวันตก นานา

หลายอย่างอยู่ลองหาอ่านดูน่าสนใจมาก











วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

ประเทศ CLMV

 


ประเทศ CLMV

ประเทศ CLMV

ประเทศ CLMV


ประเทศ CLMV คือชื่อเรียกแทนกลุ่มประเทศที่ มีตัวอักษร ทั้ง 4 ตัวนั้น คือ


C = China  จีน


L = Latvia ลัตเวีย


M = Macedonia มาซีโดเนีย ตอนนี้เป็น นอร์ท มาซิโดเนีย


V = Venezuela เวเนซูเอล่า 


โว้ยยย ข้างบนหนะใช่ที่ไหนเล่า หยอกๆๆ ไม่ใช่เด้อ อันบนนั้นขำขำนะอย่าไปเชื่อ


CLMV ย่อมาจาก ชื่อประเทศในกลุ่มคือ




C = กัมพูชา (Cambodia)




L = ลาว (Laos)




M = เมียนมาร์ (Myanmar)




V = เวียดนาม (Vietnam)




เป็นกลุ่มประเทศ ในเขตอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Great Mekong Subregion: GMS) หรือ 


ถ้าจะมีไทยไปด้วยก็จะเป็น CLMVT


กลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน (CLMV) ที่นับก็คือ อาเซียน ตอนบน ลุ่มแข่น้ำโขงทั้งหลาย


จัดเป็นกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านและเป็นคู่ค้าที่สำคัญของไทยในอาเซียน 


จากการสังเกตุคือ ทั้ง 4 ประเทศนี้ ชื่ออย่างเป็นทางการ นั้นจะไม่เหมือนกันเลย ไม่ใช่ราชอาณาจักร 

ซ้ำ หรือ สาธารณรัฐ



สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  (Lao People’s Democratic Republic )


ราชอาณาจักรกัมพูชา (  Kingdom of Cambodia )


สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า ( Republic of the Union of Myanmar )


สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ( Socialist Republic of Vietnam )


ลาวนั้น เป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตย ในแบบการปกครองของเขาแหละ มีพักลัดพรรคเดียวเป็น

พรรคบริหารประเทศ


เวียดนามนั้นสังคมนิยม จ๋ามาทั้งรูปแบบและชื่อประเทศ


พม่านั้นก็ สหภาพ รวมหลายเชื้อชาติเผ่าพันธ์ ในประเทศเดียว


เขมรนั้น เป็นราชอาณาจักร แต่นายกมีอำนาจล้นฟ้าล้นเมือง


อิทธิพลด้านการค้าและการลงทุนของ “จีน” ในกลุ่มประเทศ CLMV ก็มีมากขึ้นเข้ามาแทรกแซงใน

การปกครอง หลายประเทศเช่นกัน  แต่ไทยเราก็ยังรักษาฐานโดยเฉพาะสินค้าที่มีคุณภาพไว้ได้อย่างดี

ในกลุ่มประเทศ CLMV จัดได้ว่าไทยเรานั้นเป็นศูนย์กลางที่รายล้อมด้วยกลุ่มนี้ ที่ต้องบริหารงานให้ดี

และติดต่อค้าขายรวมไปถึงด้านความมั่นคงเป็นสำคัญอีกด้วย เพราะในกลุ่มประเทศเหล่านี้นั้น โดนจีน

เข้ามามีอำนาจอยู่สุงมาก



วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

สนามบินนานาชาติ ประเทศอาเซียน

 


สนามบินนานาชาติ ประเทศอาเซียน


ท่าอากาศยานนานาชาติ ประเทศอาเซียน

สนามบินนานาชาติ ประเทศอาเซียน


1. สนามบินนานาชาติ : ประเทศไทย

ปฎิ

- ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 


- ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานดอนเมือง ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศไทย


- ท่าอากาศยานนานาชาติเบตง


- ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่


- ท่าอากาศยานนานาชาติแม่ฟ้าหลวง เชียงราย


- ท่าอากาศยานนานาชาติหาดใหญ่


- ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต


- ท่าอากาศยานนานาชาติสมุย


- ท่าอากาศยานนานาชาติกระบี่


- ท่าอากาศยานนานาชาติสุราษฎร์ธานี


- ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา (ระยอง–พัทยา)


- ท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี :


- ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี




2. สนามบินนานาชาติ : ประเทศลาว


- ท่าอากาศยานนานาชาติอัตตะปือ Attapeu International Airport ตั้งอยู่ที่เมืองไชยเชษฐา แขวงอัตตะปือ 


- ท่าอากาศยานสะหวันนะเขต Savannakhet Airport


- ท่าอากาศยานนานาชาติหลวงพระบาง Luang Prabang International Airport


- ท่าอากาศยานนานาชาติปากเซ Pakse International Airport


- ท่าอากาศยานนานาชาติวัตไต Wattay International Airport ในเวียงจันทน์ ซึ่งอยู่ห่างจากใจ

            กลางเมือง 3 กม. 




3. สนามบินนานาชาติ : ประเทศกัมพูชา


- ท่าอากาศยานนานาชาติพนมเปญ Phnom Penh International Airport เป็นท่าอากาศยานหลัก

            ของกัมพูชา ตั้งอยู่ห่างจากใจกลางกรุงพนมเปญ มีชื่อเดิมว่า "ท่าอากาศยานนานาชาติโปเชนตง"

            Pochentong International Airport


- ท่าอากาศยานนานาชาติเสียมราฐ Siem Reap International Airport ถ้าอ่านแบบเขมรจะอ่าน

            เสียมราฐ เป็นเสียมเรียบ


- ท่าอากาศยานนานาชาติจังหวัดพระสีหนุ Sihanouk International Airport เป็นที่รู้จักกันในชื่อ 

            ท่าอากาศยานกองเกง




4. สนามบินนานาชาติ : ประเทศเวียดนาม



- ท่าอากาศยานนานาชาติเกิ่นเทอ Can Tho International Airport เป็นท่าอากาศยานในเมืองเกิ่นเทอ

            ประเทศเวียดนาม


- ท่าอากาศยานนานาชาติดานัง Da Nang International Airport ใช้งานร่วมกับกองทัพอากาศเวียดนาม


- ท่าอากาศยานนานาชาติก๊าตบี Cat Bi International Airport เป็นท่าอากาศยานในเมืองไฮฟอง 

            เมืองที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ในเวียดนาม


- ท่าอากาศยานนานาชาติโหน่ยบ่าย Noi Bai International Airport ท่าอากาศยานที่ใหญ่ที่สุด

            ในเวียดนามตอนเหนื และอันดับที่ 2 ในเวียดนามอ บริเวณเมืองหลวงฮานอย ตั้


- ท่าอากาศยานนานาชาติเตินเซินเญิ้ต Tan Son Nhat International Airport เป็นท่าอากาศยาน

            นานาชาติที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนาม ตั้งอยู่ในนครโฮจิมินห์


- ท่าอากาศยานนานาชาติฟู้บ่าย Phu Bai International Airport ตั้งอยู่ทางใต้ของเมืองเว้ เมืองหลวง

            เก่าของประเทศเวียดนาม เมืองเว้เป็นทั้งเมืองดัง และ หมู่โบราณสถานเมืองเว้ มรดกโลก ของ

            เวียดนามอีกด้วย


- ท่าอากาศยานนานาชาติกามซัญ Cam Ranh International Airport อยู่ใกล้กับอ่าวกามซัญในเมืองกามซัญ 

            จังหวัดคั้ญฮหว่า 


- ท่าอากาศยานนานาชาติฟู้โกว๊ก Phu Quoc International Airport บนเกาะฟู้โกว๊ก ในเขตจังหวัด

            เกียนซางทางภาคใต้ของประเทศเวียดนาม เป็นเกาะที่ประจันหน้าอยู่หน้าดินแดนกัมพูชา 

            เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุด ของประเทศเวียดนาม


- ท่าอากาศยานนานาชาติหวั้นด่อน Van Don International Airport จังหวัดกว๋างนิญ ประเทศเวียดนาม 

            ซึ่งเป็นที่ตั้งของอ่าวฮาลองมรดกโลก ตั้งอยู่ประมาณ 50 กม.


- ท่าอากาศยานนานาชาติวิญ Vinh International Airport ใช้งานเชิงพาณิชย์และการทหาร เคยเป็น

            ฐานทัพที่สำคัญของเวียดนาม 




5. สนามบินนานาชาติ : ประเทศเมียนมา


- ท่าอากาศยานนานาชาติมัณฑะเลย์ Mandalay International Airport เป็นท่าอากาศยานที่ใหญ่

            และทันสมัยที่สุดในประเทศ 


- ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้ง Yangon International Airport เป็นท่าอากาศยานนานาชาติแห่งหลัก

            ของพม่า 


- ท่าอากาศยานนานาชาติเนปยีดอ Naypyidaw International Airport


- ท่าอากาศยานนานาชาติหงสาวดี Hanthawaddy International Airport เป็นสนามบินนานาชาติ 

            ในเขตพะโค ห่างจากย่างกุ้ง นครเมืองที่ใหญ่ ของพม่าประมาณ 77 กม.




6. สนามบินนานาชาติ : ประเทศมาเลเซีย *จากข้อมูลในเว็บกระทรวงคมนาคมมาเลย์มี 6 แต่ข้อมูลจากเว็บ

อื่นๆ มี 8 และมากกว่านั้น ส่วนที่เราจะใช้คือ 8 นะคับ เพราะมีสนามบิน แห่งนึง ที่เคยเป็นมาก่อน เช่น 

Sultan Abdul Aziz Shah Airport เลยไม่ตัดออก และ Malacca International Airport ที่ในเว็บกระทรวงนั้น

ให้เป็นการบินภายในประเทศ แต่ว่า ในเว็บนอกให้เป็น สนามบินนานาชาติ ซึ่งเราก็อาจจะอนุมานว่า 

ข้อมูลในเว็บรัฐเขา อาจจะยังไม่อัพเดท หรือยังไงหรืออะไรเราไม่แน่ใจเลยจะใส่ไป 8 ชื่อก็แล้วกัน



- ท่าอากาศยานนานาชาติมะละกา Malacca International Airport รัฐมะละกา ประเทศมาเลเซีย


- ท่าอากาศยานสุลต่าน อับดุล อาซิซ ชาห์ Sultan Abdul Aziz Shah Airport เดิมชื่อท่าอากาศยาน

            นานาชาติสุบัง/สนามบินนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ มักเรียกกันว่าสนามบินสุบังหรือสุบังสกายพาร์ค

            เป็นสนามบินที่ตั้งอยู่ในสุบัง เขตเปตาลิง สลังงอร์ ประเทศมาเลเซีย


- ท่าอากาศยานนานาชาติปีนัง Penang International Airport รองรับการจราจรทางอากาศของปีนัง

            เพื่อเชื่อมต่อกับเมืองสำคัญต่างๆ ในอาเซียน


- ท่าอากาศยานนานาชาติลังกาวี Langkawi International Airport บนเกาะลังกาวี  


- ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ Kuala Lumpur International Airport ห่างจากตัวเมือง

            กัวลาลัมเปอร์ประมาณ 50 กิโลเมตร  ใช้เป็นท่าอากาศยานหลัก แทน ท่าอากาศยานสุลต่าน

            อับดุล อาซิส ซาห์ (ซูบัง) 


- ท่าอากาศยานนานาชาติโกตากีนาบาลู Kota Kinabalu International Airport ตั้งอยู่ในรัฐซาบาห์


- ท่าอากาศยานนานาชาติกูจิง Kuching International Airport ตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของ

            รัฐซาราวัก 


- ท่าอากาศยานนานาชาติเซนาย Senai International Airport เดิมชื่อท่าอากาศยานนานาชาติ

            สุลต่านอิสมาอิล ในเมืองเซนาย เขตคูไล ยะโฮร์ บริเวณใต้สุดของคาบสมุทรมาเลเซีย




7. สนามบินนานาชาติ : ประเทศสิงคโปร์


- ท่าอากาศยานชางงีสิงคโปร์  Singapore Changi Airport หรือเรียกโดยทั่วไปว่าสนามบินชางงี  

            ได้รับการลงคะแนนให้เป็นท่าอากาศยานที่ดีที่สุดในโลกในลำดับที่ 3 รอง สนามบินอินช็อน 

            และ สนามบินฮ่องกง


- ท่าอากาศยานเซเลตาร์ Seletar Airport เป็นสนามบินนานาชาติพลเรือนที่ให้บริการภาคตะวันออก

            เฉียงเหนือของสิงคโปร์ อยู่ห่างจากสนามบินชางงีซึ่งเป็นสนามบินหลักของประเทศไปทาง

            ตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 16 กิโลเมตร




8. สนามบินนานาชาติ : ประเทศบรูไน


- ท่าอากาศยานนานาชาติบรูไน Brunei International Airport เป็นท่าอากาศยานหลักของประเทศบรูไน  

            และกองทัพอากาศบรูไนยังใช้เป็นที่ตั้งของฐานทัพอากาศ




9. สนามบินนานาชาติ : ประเทศฟิลิปปินส์  อยู่ใกล้ทะเลจีนใต้ ตะวันตก เป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทร

แปซิฟิกเหนือ 


- ท่าอากาศยานนานาชาติบาโคลอด-ซิเลย์ Bacolod–Silay International Airport เมืองสิเลย์ 

            ในจังหวัดเนกรอสทางตะวันตกของฟิลิปปินส์


- ท่าอากาศยานนานาชาติบีโคล Bicol International Airport ดารากา จังหวัดอัลเบย์


- ท่าอากาศยานนานาชาติโบโฮล–ปังเลา Bohol–Panglao International Airport หรือ ท่าอากาศยาน

            นานาชาติโบโฮลแห่งใหม่ เกาะปังเลา จังหวัดโบโฮล


- ท่าอากาศยานนานาชาติคากายันนอร์ท Cagayan North International Airport เป็นสนามบินที่

            ให้บริการพื้นที่ทั่วไปรองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษคากายัน 


- ท่าอากาศยานนานาชาติคลาร์ก Clark International Airport อยู่ห่างจากมะนิลาไปทางทิศตะวันตก

            เฉียงเหนือ 80 กิโลเมตร อยู่ในจังหวัดปัมปังกา


- ท่าอากาศยานนานาชาติฟรานซิสโกบังกอย Francisco Bangoy International Airport รู้จักทั่วไป

            ในชื่อ ท่าอากาศยานนานาชาติดาเบา บนเกาะมินดาเนา เกาะที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 2 ของประเทศ

            และมียอดเขาภูเขาอาโป ที่สูง 2,954 เมตร (9,692 ฟุต) ตั้งอยู่บนเกาะมินดาเนา อีกด้วย


- ท่าอากาศยานนานาชาติเฮเนรัลซันโตส General Santos International Airport ตั้งอยู่ที่เมือง

            เฮเนรัลซันโตส ประเทศฟิลิปปินส์ เป็นท่าอากาศยานที่มีขนาดใหญ่ที่สุดบนเกาะมินดาเนา


- ท่าอากาศยานนานาชาติอีโลอีโล Iloilo International Airport หรือ ท่าอากาศยานคาบาตูอัน 

            ตั้งอยู่ในจังหวัดอีโลอีโล ประเทศฟิลิปปินส์


- ท่าอากาศยานนานาชาติคาลิโบ Kalibo International Airport เมืองศูนย์กลางของจังหวัดอักลัน

            ประเทศฟิลิปปินส์


- ท่าอากาศยานนานาชาติลากูอินดิกัน Laguindingan International Airport เป็นสนามบินนานาชาติ

            ในมินดาเนาเหนือ


- ท่าอากาศยานนานาชาติลาวัก Laoag International Airport เป็นท่าอากาศยานเมืองลาวัก 


- ท่าอากาศยานนานาชาติมัคตัน - เซบู Mactan–Cebu International Airport สนามบินในเขตกิตนาง

            คาบีซายาอัน และเป็นสนามบินนานาชาติที่มีผู้โดยสารมากเป็นอันดับที่สองของประเทศ 

            เขตปริมณฑลเซบู 


- ท่าอากาศยานนานาชาตินินอย อากีโน่ Ninoy Aquino International Airport เป็นท่าอากาศยานหลัก

            ของประเทศฟิลิปปินส์ ในมะนิลาและเขตปริมณฑล


- ท่าอากาศยานนานาชาติปูเวร์โตปรินเซซา Puerto Princesa International Airport ท่าอากาศยาน

            ที่ตั้งอยู่ที่จังหวัดปาลาวันประเทศฟิลิปปินส์ ท่าอากาศยานนานาชาติโดยหน่วยงานการบินพลเรือน

            แห่งฟิลิปปินส์


- ท่าอากาศยานนานาชาติอ่าวซูบิก Subic Bay International Airport ตั้งอยูในเขตเมืองท่าปลอดภาษีอ่าวซูบิก 


- ท่าอากาศยานนานาชาติซัมบวงกา  Zamboanga International Airport เมืองซัมบวงกาซิตี ของเกาะมินดาเนา




10. สนามบินนานาชาติ : ประเทศอินโดนีเซีย อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน

 และเป็นหมู่เกาะมากมาย จึงมีสนามบินนานาชาติเยอะกว่าที่อื่นแบบเท่าตัวเลยทีเดียว


- ท่าอากาศยานนานาชาติฮูเซ็น ซัซตราเนอการา Husein Sastranegara International Airport เมืองบันดุง 

            จังหวัดชวาตะวันตก 


- ท่าอากาศยานนานาชาติบันยูวันงี Banyuwangi International Airport เมืองบันยูวันงี และพื้นที่โดยรอบ

            ในชวาตะวันออก อินโดนีเซีย


- ท่าอากาศยานนานาชาติฮาลิม เปอร์ดานากุสุมา  เป็นสนามบินนานาชาติในกรุงจาการ์ตา ตั้งชื่อตาม

            ฮาลิม เปอร์ดานากุสุมา ทหารอากาศชาวอินโดนีเซีย เป็นวีรบุรุษแห่งชาติของอินโดนีเซีย


- ท่าอากาศยานนานาชาติซูการ์โน- ฮัตตา Soekarno–Hatta International Airport เป็นท่าอากาศยาน

            หลักของกรุงจาการ์ตาและปริมณฑล ตั้งอยู่ในจังหวัดบันเตินบนเกาะชวาตั้งชื่อตามซูการ์โน

            ประธานาธิบดีคนแรก และโมฮัมมัด ฮัตตา รองประธานาธิบดีคนแรก


- ท่าอากาศยานนานาชาติเคอร์ทาจาติ Kertajati International Airport เป็นสนามบินในชวาตะวันตก

            ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งทำหน้าที่เป็นสนามบินนานาชาติแห่งที่สองสำหรับมหานครบันดุงและซิเรบอน


- ท่าอากาศยานนานาชาติอัคมัด ยานี General Ahmad Yani International Airport สนามบินในเขต

            เมืองเซอมารัง จังหวัดชวากลาง  ตั้งชื่อตาม  อัคมัด ยานี เป็นผู้บัญชาการกองทัพชาวอินโดนีเซีย 

            วีรบุรษของประเทศ


- ท่าอากาศยานนานาชาติจูวันดา Juanda International Airport เป็นสนามบินนานาชาติในตำบลเซอดาตี 

            อำเภอซีโดอาร์โจ จังหวัดชวาตะวันออก  ตั้งตามชื่อจูวันดา การ์ตาวีจายา อดีตนายกรัฐมนตรี

            อินโดนีเซียผู้ริเริ่มการพัฒนาสนามบินแห่งนี้


- ท่าอากาศยานนานาชาติอดิซูมาร์โม Adisumarmo International Airport เป็นสนามบินใน ชวากลาง

            ตั้งชื่อตาม Adi Sumarmo Wiryokusumo เป็นหนึ่งในวีรบุรุษของชาติอินโดนีเซีย ผู้บุกเบิกกองทัพ

            อากาศชาวอินโดนีเซีย


- ท่าอากาศยานนานาชาติอาดิสุคิปโต Adisucipto International Airport บนเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย  

            ตั้งชื่อตาม Agustinus Adisucipto เป็นนักบินคนแรกของกองทัพอากาศชาวอินโดนีเซีย


- ท่าอากาศยานนานาชาติอาดิสุคิปโตยอร์ค จาการ์ตาร์  Yogyakarta International Airport


- ท่าอากาศยานนานาชาติสุลต่านอิสกันดาร์ มูดา Sultan Iskandar Muda International Airport หรือ

            ที่เรียกว่าท่าอากาศยานนานาชาติบันดาอาเจะห์  ตั้งชื่อตามสุลต่านที่สิบสองแห่งอาเจะห์ 

            อิสกันดาร์ มูดา


- ท่าอากาศยานนานาชาติราดิน อินเตน ที่2 Radin Inten II International Airport ในเมืองบันดาร์ 

            ลัมปุง  ตั้งชื่อตามสุลต่านคนสุดท้ายของลัมปุง 


- ท่าอากาศยานนานาชาติแฮง ดานิม Hang Nadim International Airport สนามบินนานาชาติที่ตั้งอยู่

            ในเมือง Batam หมู่เกาะ Riau ตั้งชื่อตาม Hang Nadim นักรบในตำนานจากภูมิภาค


- ท่าอากาศยานนานาชาติกูวาลานามู Kualanamu International Airport จังหวัดสุมาตราเหนือ  


- ท่าอากาศยานนานาชาติมินังกาเบา Minangkabau International Airport ในจังหวัดสุมาตราตะวันตก

            บนเกาะสุมาตรา มินังกาเบา มาจากชื่อของกลุ่มชาติพันธ์ในอินโด ชนเผ่าพื้นเมือง ที่ผู้หญิงเป็นใหญ่


- ท่าอากาศยานนานาชาติสุลต่านมะฮ์มุด บาดารูดินที่ 2 Sultan Mahmud Badaruddin II International Airport 

            ในเมืองปาเล็มบัง จังหวัดสุมาตราใต้  ชื่อสนามบินมาจากพระนามของสุลต่านมะฮ์มุด บาดารูดินที่ 2

            ซึ่งเป็นสุลต่านแห่งปาเล็มบัง


- ท่าอากาศยานนานาชาติสุลต่านซยาริฟ คาซิมที่ 2 Sultan Syarif Kasim II International Airport

             เมืองเปกันบารู, เรียวภาคตะวันออกของเกาะสุมาตรา ตั้งชื่อตาม สุลต่านองค์ที่ 12 และองค์สุดท้าย

            ของรัฐสุลต่านเซียกศรีอินทราปุระ (Sultanate of Siak Sri Indrapura)


- ท่าอากาศยานนานาชาติ สิซิงมังการาราชาที่สิบสอง Sisingamangaraja XII International Airport

            ตั้งอยู่ที่สิลันกิต ตปานุลีเหนือ สุมาตราเหนือ ตั้งชื่อตามนักรบบาตักและพระเจ้าสิสิงค์มังคราชาที่

            สิบสอง ราชาองค์สุดท้ายของชนเผ่าบาตักทางเหนือของสุมาตรา ที่ถูกสังหารในการต่อสู้กกับดัตช์

            ที่จะเข้ามายึดอินโดเป็นอาณานิคม


- ท่าอากาศยานนานาชาติ เอช.เอ.เอส. ฮานันด์โจดดิน H.A.S. Hanandjoeddin International Airport

            สนามบินในตันจุงปันดัน บังกา-เบลิตุง ตั้งชื่อตาม ผู้บุกเบิกกองทัพอากาศชาวอินโดนีเซียและอดีต

            ผู้สำเร็จราชการแห่งเบลิตุง


- ท่าอากาศยานนานาชาติราจา ฮาจิ ฟิซาบีลิลละห์ Raja Haji Fisabilillah International Airport เป็น

            สนามบินนานาชาติที่ตั้งอยู่ในตันจุงปินัง หมู่เกาะเรียว ตั้งชื่อตาม กษัตริย์ฮัจญ์ฟิซาบีลิลละห์ 

            เป็นนักรบของบูกิสและยังเป็นยังดิเปอร์ตวน มูดา (มกุฎราชกุมาร) แห่งรัฐยะโฮร์-เรียว


- ท่าอากาศยานนานาชาติสุลต่านอาจี มูฮาหมัด ซูลัยมาน เซปิงกัน Sultan Aji Muhammad Sulaiman

            Sepinggan Airport เป็นที่รู้จักกันในนามสนามบินเซปิงกัน เมืองบาลิกปาปันและพื้นที่ใกล้เคียงของ

            กาลิมันตันตะวันออก ตั้งอยู่ในกาลิมันตัน ตั้งชื่อตาม สุลต่านอาจี มูฮาหมัด ซูลัยมาน เซปิงกัน


- ท่าอากาศยานนานาชาติสยามสุดินนูร์ Syamsudin Noor International Airport จามาซินในกาลิมันตันใต้

            ของอินโดนีเซีย 


- ท่าอากาศยานนานาชาติสุปาดิโอ Supadio International Airport อยู่ห่างจากปอนเตียนัค กาลิมันตันตะวันตก 

            ประเทศอินโดนีเซีย 17 กม. 


- ท่าอากาศยานนานาชาติอาจี ปรินซ์ ตูเม็งกุง ปราโนโต Aji Pangeran Tumenggung Pranoto

            International Airport หรือที่เรียกว่าสนามบิน APT Pranoto หรือสนามบินซามารินดา เป็นสนามบิน

            หลักใน ซามารินดา เมืองหลวงของ กาลีมันตันตะวันออก ประเทศอินโดนีเซีย


- ท่าอากาศยานนานาชาติจูวาตา Juwata International Airport สนามบินนานาชาติในเมืองทารากัน

            จังหวัดกาลิมันตันเหนือ  ตั้งอยู่บนเกาะทารากันซึ่งอยู่นอกชายฝั่งบอร์เนียว


- ท่าอากาศยานนานาชาติสุลต่านฮาซานุดดิน Sultan Hasanuddin International Airport เป็นสนามบิน

            ในเมืองมากัซซาร์ ตั้งอยู่บริเวณชายแดนมากัสซาร์และมารอส ชานเมืองสุลาเวสีใต้ ตั้งชื่อตาม

            สุลต่าน ฮาซานุดดิน ผู้ปกครองคนที่ 16 ของสุลต่าน ของสุลต่านโกวา ในชื่อสมญา รี โกวาที่ 16

            เป็นวีรบุรุษของชาติชาวอินโดนีเซีย 


- ท่าอากาศยานนานาชาติซัม ราตูลางี Sam Ratulangi International Airport หรือ ท่าอากาศยาน

            นานาชาติมานาโด เป็นสนามบินนานาชาติในจังหวัดซูลาเวซีเหนือ ชื่อสนามบินมาจากบุคคลสำคัญ

            ชื่อว่า ซัม ราตูลางี เป็นครูมินาฮาซา เผ่านักรบแห่งซูลาเวซี นักข่าว นักการเมือง และวีรบุรุษของชาติ 

            จากซุลาเวสีเหนือ ผู้ว่าการสุลาเวสีคนแรก


- ท่าอากาศยานนานาชาติงูระห์ไร Ngurah Rai International Airport หรือที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า 

            ท่าอากาศยานนานาชาติเด็นปาซาร์ ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเกาะบาหลี ห่างจากเด็นปาซาร์ไปทางใต้

            13 กิโลเมตร ตั้งชื่อตาม I Gusti Ngurah Rai (พันโท อี กุซตี งูระฮ์ ไร) วีรบุรุษประจำชาติอินโดนีเซีย

            ที่เสียชีวิตในยุทธการที่มาร์การานา (Battle of Margarana) ระหว่างการปฏิวัติอินโดนีเซีย 

            ผู้นำการทัพในบาหลีต่อต้านชาวดัตช์ในสงครามการประกาศเอกราชอินโดนีเซีย

            ในยุคที่มีการล่าอาณานิคม จากชาติตะวันตก


- ท่าอากาศยานนานาชาติลอมบอก Lombok International Airport  หรือที่เรียกว่าสนามบินนานาชาติ

            ไซนุดดิน อับดุล มัดจิด เป็นสนามบินนานาชาติบนเกาะลอมบอกในอินโดนีเซีย 


- ท่าอากาศยานนานาชาติฟรานส์ ไคซีโป Frans Kaisiepo International Airport เป็นสนามบินใน 

            Biak เป็นเกาะที่ตั้งอยู่ในอ่าว Cenderawasih ใกล้ชายฝั่งทางตอนเหนือของปาปัว ประเทศอินโดนีเซีย

            ตั้งชื่อตาม Frans Kaisiepo ผู้ว่าการคนที่สี่ของปาปัว 


- ท่าอากาศยานนานาชาติดอร์เทย์ส แทต อิลวย Dortheys Hiyo Eluay International Airport หรือที่

            เรียกว่า ท่าอากาศยานนานาชาติเซนทานี Sentani International Airport  บนเกาะนิวกินี 


- ท่าอากาศยานนานาชาติโมปาห์ Mopah International Airport รัฐปาปัวใต้ ประเทศอินโดนีเซีย