Ads

วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

ศิลปะป้องกันตัวประจำชาติ ของประเทศอาเซียน (Martial arts)

 


ศิลปะป้องกันตัวประจำชาติ ของประเทศอาเซียน

ศิลปะป้องกันตัวประจำชาติ ของประเทศอาเซียน


ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว. กีฬาประจำชาติของประเทศในอาเซียน กีฬาศิลปะป้องกันตัวของประเทศ

ต่างๆ ในอาเซียน


ศิลปะป้องกันตัวประจำชาติ ของประเทศอาเซียน (Martial arts)



1. ไทย : Muay Thai มวยไทย เป็นที่รู้จักมีชื่อเสียงในระดับโลก จนถึงมีชาวต่างชาติ นักท่องเที่ยว มา

เรียนถึงเมืองไทยเลย นับว่าเป็นกีฬายอดนิยมในสาขาศิลปะป้องกันตัว อีกชนิดนึงของโลกเลยก็ว่าได้

และที่สำคัญ มีบรรจุในกีฬาอย่าง ซีเกมส์ เอเชี่ยนเกมส์ เวิลด์เกมส์ อีกด้วย กำลังมีแนวโน้มจะได้เข้า

โอลิมปิกในอนาคต นักมวยไทยหลายคนก็ได้ปรับเปลี่ยนการต่อยแบบสาลก จนทำเหรียญทองในโอลิมปิก

ให้กับประเทศไทย มาอย่างมากมายเช่นกัน



2. เวียดนาม : โววีนัม Việt Võ Đạo / Vovinam ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวจากเวียดนาม เป็นการต่อสู้

โดยไม่ใช้อาวุธ สามารถใช้มือ, ศอก, เตะ การป้องกันการโจมตีจากผู้โจมตีที่มีอาวุธมีดหรือดาบ ฝึกฝน

เพื่อการควบคุมร่างกายและจิตใจที่เหมาะสมที่สุด



3. ลาว : มวยลาว มวยลายลาวมีต้นกำเนิดเกิดมาจากท่าทางการชกมวยตั้งแต่สมัยโบราณที่เรียกกันว่า

 "มวยเสือลากหาง" ประกอบด้วยหมัด เตะ ศอก และเข่า มันคล้ายกับมวยไทยจากประเทศไทยและ 

Pradal Serey จากกัมพูชา



4. กัมพูชา : ปราดาล เซเร่ย์ Pradal Serey เป็นกีฬาต่อสู้ที่มีต้นกำเนิดในประเทศกัมพูชา ที่มีการได้รับ

แรงบันดาลใจมากจากมวยไทย ในเวทีมาตราฐานจึงมีลักษณะคล้ายกับมวยไทยในไทย และเลทเหว่ย

ในพม่า



5. พม่า : เลทเหว่ย Lethwei มวยพม่าเป็นกีฬาการต่อสู้แบบสัมผัสเต็มรูปแบบจากพม่าที่ใช้การชกแบบยืน

ขึ้นรวมทั้งการโขกศีรษะด้วย ซึ่งจะคล้ายกับมวยไทยโบราณตรงที่สามารถใช้หัวโขกได้ แต่ภายหลังเมื่อ

มวยไทยเป็นกีฬามากขึ้นจึงยกเลิกการเอาหัวโขกออกไปด้วย การเอาหัวโขกเป็นอาวุธสำคัญของนักสู้

เลทเหว่ย  ทำให้เลทไวได้รับสมญานามว่า The Art of 9 Limbs เป็นกีฬาประจําชาติ ที่ให้ความดุเดือดอีก

ชนิดนึงเลยทีเดียว



6. มาเลเซีย : สีลัต (Silat) ศิลปะการป้องกันตัวของชนชาวมลายู การเคลื่อนไหวเพื่อปัดป้องหรือโจมตี 

ไม่ว่าจะใช้อาวุธหรือไม่ก็ตาม สิลัตมีต้นกำเนิดมาจากยุคแรกๆ ของอารยธรรมมาเลย์ และหลังจากนั้นก็ได้

พัฒนาเป็นประเพณีและมีความหลากหลายจนมีการแยกออกมาเป็น ศิลปะการแสดงได้อีกด้วย ได้รับการ

ยอมรับให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้โดย UNESCO ร่วมกับอินโด



7. อินโดนีเซีย : ปันจักสีลัต (Pencak silat) ศิลปะการป้องกันตัวของชาวอินโดนีเซีย เป็นรูปแบบการ

ต่อสู้แบบเต็มตัวที่ผสมผสานการต่อสู้ และการทุ่ม นอกเหนือจากการใช้อาวุธ ทุกส่วนของร่างกายถูก

ใช้ได้ทั้งหมดเหมือนกับสีลัตของมาเลเซีย Pencak silat ได้รับการยอมรับว่าเป็นผลงานชิ้นเอกของ

มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ UNESCO 



8. สิงคโปร์ :  -



9. บรูไน : สีลัต (Silat) แบบมาเลเซียและอินโดนีเซีย เพราะได้รับอิทธิพล และวัฒนธรรมใกล้เคียงกัน 

ถือเป็นเอกลักษณ์ นึง ที่ดินแดนแถบนั้นมีร่วมกันนอกเหนือจากภาษา วิถีชีวิต ประเพณี ศาสนา



10. ฟิลิปปินส์ : อานิส (Arnis) หรือที่เรียกว่า Kali หรือ Eskrima/Escrima เป็นศิลปะการต่อสู้ประจำชาติ

ของฟิลิปปินส์ศิลปะการต่อสู้แบบดั้งเดิมของฟิลิปปินส์ เน้นการต่อสู้โดยใช้อาวุธด้วยไม้ มีด อาวุธมีด และ

อาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งมือ เทคนิคการต่อสู้โดยไม่ต้องใช้อาวุธ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น