Ads

วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

ศิลปะป้องกันตัวประจำชาติ ของประเทศอาเซียน (Martial arts)

 


ศิลปะป้องกันตัวประจำชาติ ของประเทศอาเซียน

ศิลปะป้องกันตัวประจำชาติ ของประเทศอาเซียน


ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว. กีฬาประจำชาติของประเทศในอาเซียน กีฬาศิลปะป้องกันตัวของประเทศ

ต่างๆ ในอาเซียน


ศิลปะป้องกันตัวประจำชาติ ของประเทศอาเซียน (Martial arts)



1. ไทย : Muay Thai มวยไทย เป็นที่รู้จักมีชื่อเสียงในระดับโลก จนถึงมีชาวต่างชาติ นักท่องเที่ยว มา

เรียนถึงเมืองไทยเลย นับว่าเป็นกีฬายอดนิยมในสาขาศิลปะป้องกันตัว อีกชนิดนึงของโลกเลยก็ว่าได้

และที่สำคัญ มีบรรจุในกีฬาอย่าง ซีเกมส์ เอเชี่ยนเกมส์ เวิลด์เกมส์ อีกด้วย กำลังมีแนวโน้มจะได้เข้า

โอลิมปิกในอนาคต นักมวยไทยหลายคนก็ได้ปรับเปลี่ยนการต่อยแบบสาลก จนทำเหรียญทองในโอลิมปิก

ให้กับประเทศไทย มาอย่างมากมายเช่นกัน



2. เวียดนาม : โววีนัม Việt Võ Đạo / Vovinam ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวจากเวียดนาม เป็นการต่อสู้

โดยไม่ใช้อาวุธ สามารถใช้มือ, ศอก, เตะ การป้องกันการโจมตีจากผู้โจมตีที่มีอาวุธมีดหรือดาบ ฝึกฝน

เพื่อการควบคุมร่างกายและจิตใจที่เหมาะสมที่สุด



3. ลาว : มวยลาว มวยลายลาวมีต้นกำเนิดเกิดมาจากท่าทางการชกมวยตั้งแต่สมัยโบราณที่เรียกกันว่า

 "มวยเสือลากหาง" ประกอบด้วยหมัด เตะ ศอก และเข่า มันคล้ายกับมวยไทยจากประเทศไทยและ 

Pradal Serey จากกัมพูชา



4. กัมพูชา : ปราดาล เซเร่ย์ Pradal Serey เป็นกีฬาต่อสู้ที่มีต้นกำเนิดในประเทศกัมพูชา ที่มีการได้รับ

แรงบันดาลใจมากจากมวยไทย ในเวทีมาตราฐานจึงมีลักษณะคล้ายกับมวยไทยในไทย และเลทเหว่ย

ในพม่า



5. พม่า : เลทเหว่ย Lethwei มวยพม่าเป็นกีฬาการต่อสู้แบบสัมผัสเต็มรูปแบบจากพม่าที่ใช้การชกแบบยืน

ขึ้นรวมทั้งการโขกศีรษะด้วย ซึ่งจะคล้ายกับมวยไทยโบราณตรงที่สามารถใช้หัวโขกได้ แต่ภายหลังเมื่อ

มวยไทยเป็นกีฬามากขึ้นจึงยกเลิกการเอาหัวโขกออกไปด้วย การเอาหัวโขกเป็นอาวุธสำคัญของนักสู้

เลทเหว่ย  ทำให้เลทไวได้รับสมญานามว่า The Art of 9 Limbs เป็นกีฬาประจําชาติ ที่ให้ความดุเดือดอีก

ชนิดนึงเลยทีเดียว



6. มาเลเซีย : สีลัต (Silat) ศิลปะการป้องกันตัวของชนชาวมลายู การเคลื่อนไหวเพื่อปัดป้องหรือโจมตี 

ไม่ว่าจะใช้อาวุธหรือไม่ก็ตาม สิลัตมีต้นกำเนิดมาจากยุคแรกๆ ของอารยธรรมมาเลย์ และหลังจากนั้นก็ได้

พัฒนาเป็นประเพณีและมีความหลากหลายจนมีการแยกออกมาเป็น ศิลปะการแสดงได้อีกด้วย ได้รับการ

ยอมรับให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้โดย UNESCO ร่วมกับอินโด



7. อินโดนีเซีย : ปันจักสีลัต (Pencak silat) ศิลปะการป้องกันตัวของชาวอินโดนีเซีย เป็นรูปแบบการ

ต่อสู้แบบเต็มตัวที่ผสมผสานการต่อสู้ และการทุ่ม นอกเหนือจากการใช้อาวุธ ทุกส่วนของร่างกายถูก

ใช้ได้ทั้งหมดเหมือนกับสีลัตของมาเลเซีย Pencak silat ได้รับการยอมรับว่าเป็นผลงานชิ้นเอกของ

มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ UNESCO 



8. สิงคโปร์ :  -



9. บรูไน : สีลัต (Silat) แบบมาเลเซียและอินโดนีเซีย เพราะได้รับอิทธิพล และวัฒนธรรมใกล้เคียงกัน 

ถือเป็นเอกลักษณ์ นึง ที่ดินแดนแถบนั้นมีร่วมกันนอกเหนือจากภาษา วิถีชีวิต ประเพณี ศาสนา



10. ฟิลิปปินส์ : อานิส (Arnis) หรือที่เรียกว่า Kali หรือ Eskrima/Escrima เป็นศิลปะการต่อสู้ประจำชาติ

ของฟิลิปปินส์ศิลปะการต่อสู้แบบดั้งเดิมของฟิลิปปินส์ เน้นการต่อสู้โดยใช้อาวุธด้วยไม้ มีด อาวุธมีด และ

อาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งมือ เทคนิคการต่อสู้โดยไม่ต้องใช้อาวุธ



วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

คําทักทายอาเซียน 10 ประเทศ Hello in Asean

 


คําทักทายอาเซียน 10 ประเทศ Hello in Asean


คําทักทายอาเซียน 10 ประเทศ Hello in Asean


ให้สังเกตุว่า ไทยและประเทศใน CLMV นั้นยกเว้นเวียดนามที่ประธานาธิบดีโฮจิมินห์ วีรบุรุษของเวียดนาม

 ประกาศให้ใช้ตัวอักษรโรมันเป็นตัวเขียนในภาษาเวียดนามนอกนั้นชาติอื่นใน CLMV และไทย มี

ภาษาเขียนของตัวเอง ทั้งหมด ทั้งลาว ไทย พม่า เขมร  ซึ่งประเทศในแถบมาลายู และชาวเกาะใน

อาเซียน อย่าง อินโดนีเซีย บรูไน และ มาเลย์นั้น ใช้ตัวอัการโรมันในการเขียน


คําทักทายอาเซียน 10 ประเทศ Hello in Asean



1. ไทย : สวัสดี  ( Sawadee ) - 


2. พม่า : มิงกาลาบา ( Mingalar Par ) မင်္ဂလာပါ 


3. ลาว : สะบายดี ( Sabaidee ) - ສະບາຍດີ 


4. เวียดนาม : ซินจ่าว ( Xin Chao )  - Xin chào เดิมนั้นใช้อักษรจีนฮั่นเหมือนจีน แต่หลังจาก

ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส มีพัฒนาการของตัวอักษรโรมัน ซึ่งคิดโดยบาทหลวงฝรั่งเศส

เรียกว่า quốc ngữ โกว๊ก หงือ


5. กัมพูชา : ซัวสเด ( Shuo Sa Dai )   - សួស្តី 


6. มาเลเซีย : ซาลามัต ดาตัง ( Salamat Datang ) - ชื่อประเทศอย่างเป็นทางการคือ  สหพันธรัฐมาเลเซีย

 รวมเอาหลายๆรัฐชาวมาลายา มารวมกันภาษาจึงใกล้กันมากในบรูไน และอินโด


7. อินโดนีเซีย : ซาลามัตเซียง ( Salamat Siang )  -  ประเทศที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน มีพื้นที่ในแถบเกาะ

ใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ติดมาเลเซีย บรูไน ภาษาและวัฒนธรรม มีพื้นฐานใกล้เคียงกัน เพราะ

เมื่อก่อนพื้นที่แถบนั้นแบ่งเป็นหลายอาณาจักรคาบเกี่ยวกันมาก่อน


8. บรูไน : ซาลามัต ดาตัง ( Salamat Datang ) - ตอนขอเอกราชเกือบได้ร่วมกับมาเลเซียแล้วด้วยนะ 

ทั้งภาษาอละอะไรต่างๆ คล้ายกันทั้งหมด


9. สิงคโปร์ : หนีห่าว ( Ni Hao ) - 你好 สิงคโปร์นั้นมีชาวจีนเป็นฐานอยู่มากพอสมควร ผู้นำคนแรก

ของพวกเขาคือ ลี กวนยู ชาวจีนอพยพรุ่นที่ 3 ที่อพยพมาจากมณฑลฮกเกี้ยนใน ประเทศจีน


10. ฟิลิปปินส์ : กูมุสต้า ( Kumusta ) - ฟิลิปปินส์นั้น เคยตกเป็นเมืองขึ้น ทั้งสเปน และอเมริกามาก่อน 

เลยได้รับอิทธิพลทั้งด้าน ภาษาและวัฒนธรรมจากฝั่งสเปน และ ภาษาอังกฤษจากอเมริกามาเยอะพอ

สมควร



วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

ประเทศอาเซียนที่เป็นหนี้จีน เมื่อเทียบเปอร์เซ็น ต่อ GDP

 


ประเทศอาเซียนที่เป็นหนี้จีน เมื่อเทียบเปอร์เซ็น ต่อ GDP 

มาดูกันว่าแต่ละประเทศในอาเซียนนั้น มีประเทศไหนบ้างที่มีหนี้กับจีนเมื่อเทียบกับ GDP 


ประเทศอาเซียนที่เป็นหนี้จีน เมื่อเทียบเปอร์เซ็น ต่อ GDP



1. ลาว :  หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นหนี้จีน 64.8% ของจีดีพี 


2. กัมพูชา : ประเทศในกลุ่ม CLMV เป็นหนี้จีน 19.7% ของจีดีพี 


3.  บรูไน : ประเทศที่มีสินค้าส่งออก สำคัญอย่างน้ำมันในอดีต เป็นหนี้จีน 13.5% ของจีดีพี 


4. เมียนมาร์ : ประเทศที่มีทรัพยากรเด่นๆ หลายอย่าง แต่มีปัญหาเรื่องสงครามกลางเมือง 

เป็นหนี้จีน 12.1% ของจีดีพี 


5. เวียดนาม : ที่มีการปกครองด้วยระบอบสังคมนิยม และมีปัญหาเรื่องเกาะกับจีน แต่ก็เป็นหนี้จีน 

5.7% ของจีดีพี 


6. มาเลเซีย : เป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวเข้าไทย มากสุดในปี 2022 เป็นหนี้จีน 2.6% ของจีดีพี 


7. อินโดนีเซีย : ประเทศที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน เป็นหนี้จีน 2.0% ของจีดีพี 


8. ฟิลิปปินส์ : หรือ Filipinas ชื่อเดิมของประเทศ เป็นหนี้จีน 0.3% ของจีดีพี 


9. ไทย : ประเทศที่มีความหมายของชื่อ แปลว่า อิสระ เสรี เป็นประเทศที่ไม่เคยตกเป็นอาณานิคม

ตะวันตก มีหนี้กับจีน >0%


10. สิงคโปร์ : -




วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

นักกีฬามีชื่อเสียงระดับโลกของฟิลิปปินส์ Filipino Sports Stars

 


นักกีฬามีชื่อเสียงระดับโลกของฟิลิปปินส์ Filipino Sports Stars

มาดูกันว่า ฟิลิปปินส์นั้น มีนักกีฬาระดับโลก ที่มีผลงานในระดับนานาชาติหลากหลายคนเราลองคัดมา

ให้ดูกันว่ามีใครบ้าง อาจจะไม่หมดทุกคน แต่ก็เยอะอยู่ แค่เท่าที่สังเกตุหลายคนนั้นไม่ได้เกิดใน มะนิลา

 เมืองหลวงของประเทศ แต่อย่างใด กีฬาน่าจะกระจายตัวได้ดีในฟิลิปปินส์ ที่ดังเยอะๆ แบบหลายคนคือ

นักบาส ที่เป็นกีฬายอดนิยม แต่ว่าไม่ได้ถึงขั้นเล่นในระดับโลก เลยคัดมาน้อยหน่อยทั้งๆที่ลิสต์เยอะ

กว่าใครเลย


นักกีฬามีชื่อเสียงระดับโลกของฟิลิปปินส์ Filipino Sports Stars



1. แมนนี ปาเกียว ( Manny Pacquiao ) :  นักมวยสากล,  เจ้าของฉายา เดอะแพ็คแมน เป็นแชมป์โลก 

8 รุ่น คนแรกของโลก กีฬามวยเป็นกีฬาที่ชาวอาเซียนเล่นเก่งระดับโลก เลย มี อินโด ไทย ปินส์


2. แพง เนโปมูเซโน ( Rafael Paeng Nepomuceno ) :  แชมป์โบว์ลิ่งโลก 6 สมัย เป็น World Bowling

 Hall of Famer และเป็นนักกีฬาโบว์ลิ่งคนแรกและคนเดียวที่ได้รับรางวัล IOC President's Trophy


3. เอเฟรน เรเยส ( Efren Reyes ) : ผู้เล่นพูลมืออาชีพได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นหนึ่งใน

ผู้เล่นพูลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล


4. กาเบรียล อิลอร์เด ( Gabriel Elorde ) : นักมวยที่เป็นตำนานของฟิลิปปินส์ เป็นนักมวยเกียรติยศ

ของสภามวยโลก


5. ฟรานซิสโก บุสตามานเต ( Francisco Bustamante ) : นักเล่นพูลอาชีพ คว้าชัยชนะมาแล้วกว่า 

70 รายการในระดับนานาชาติ


6. มันซูเอโต เวลาสโก จูเนียร์ ( Mansueto Velasco ) : นักมวยสากลสมัครเล่นชาวฟิลิปปินส์ เจ้าของ

เหรียญโอลิมปิก  (เหรียญเงิน) ที่เแอตแลนต้า ในรุ่นไลท์ฟลายเวท


7. คาร์ลอส ลอยซากา ( Carlos Loyzaga ) : นักบาสเก็ตบอลและโค้ชชาวฟิลิปปินส์ เขาเป็นนัก

บาสเก็ตบอลที่โดดเด่นที่สุด บาสเก็ตบอลชาวฟิลิปปินส์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาลเป็นนักกีฬาโอลิมปิก

 2 สมัย


8. ไฮดีลีน ดิแอซ ( Hidilyn Diaz ) : เป็นนักยกน้ำหนักและนักบินหญิงที่เป็นแชมป์โลกและโอลิมปิก

เป็นชาวฟิลิปปินส์คนแรกที่คว้าเหรียญทองโอลิมปิกให้กับฟิลิปปินส์


9. ยูจีน ทอร์ (Eugene Torre) : นักหมากรุกชาวฟิลิปปินส์ เป็นชาวเอเชียคนแรกที่มีคุณสมบัติสำหรับ

ตำแหน่งปรมาจารย์ คว้าเหรียญเงินในการแข่งขันหมากรุกโอลิมปิกครั้งที่ 21 ที่เมืองนีซ ประเทศฝรั่งเศส


10. ปานโช วิลล่า ( Pancho Villa ) : นักมวยสากล ครองแชมป์โลกมวยสากลรุ่นฟลายเวทแชมป์โลก

มวยสากลคนแรกของประเทศฟิลิปปินส์ และของทวีปเอเชีย


11. พอลลิโน่ อัลคันทาร่า ( Paulino Alcántara ) : นักฟุตบอลกองหน้า เกิดในฟิลิปปินส์เล่นอาชีพที่

บาร์เซโลนา และยังเป็นตัวแทนของคาตาโลเนีย ฟิลิปปินส์ และสเปนในระดับสากล


12. จอร์แดน นอร์วู้ด ( Jordan Norwood )  : อดีตผู้เล่น NFL ชาวฟิลิปปินส์ - อเมริกัน เคยอยู่กับ

 Philadelphia Eagles, Tampa Bay Buccaneers และ Denver Broncos


13. ซีมีโอเน่ โทริบิโอ ( Simeon Toribio ) : นักกีฬากระโดดสูงชาวฟิลิปปินส์ เข้าแข่งขันในกีฬาโอลิมปิก

 และได้รับเหรียญทองแดงในปี 1932


14. ยูจีน อามาโน่ ( Eugene Amano ) : อดีตผู้เล่นแนวรุกของอเมริกันฟุตบอล เล่นให้กับเทนเนสซีไททันส์


15. มิเกล ไวต์ ( Miguel White ) : นักกีฬาวิ่งข้ามเครื่องกีดขวาง 400 เมตร ในโอลิมปิก ฤดูร้อนปี 1936 

ที่จัดขึ้นที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี โดยได้รับเหรียญทองแดง


16. หลุยส์ ซีโต้ เอสปิโนซ่า ( Luisito Espinosa ) : นักมวยสากลรุ่นแบนตัมเวท และ เฟเธอร์เวท 

แชมป์โลกรุ่นแบนตัมเวท WBA เป็นฝ่ายชนะน็อค เขาค้อ แกแล็คซี่ 


17. สปีดี้ ดาโด้ ( Speedy Dado ) : เป็นนักมวยชาวฟิลิปปินส์ที่ชิงแชมป์โลกรุ่นฟลายเวท แบนตัมเวท 

และเฟเธอร์เวต


18. เปโดร อาดิเก จูเนียร์ (Pedro Adigue) : แชมป์โลกรุ่นไลท์เวต WBC 


19. เจนนิเฟอร์ โรเซลส์ (Jennifer Rosales) : เป็นนักกอล์ฟอาชีพจากฟิลิปปินส์ ปัจจุบันเล่นใน 

US-based LPGA Tour


20. เบน วิลลาฟอร์ (Ben Villaflor) : แชมป์โลกรุ่นซูเปอร์เฟเธอร์เวท WBA 


21. เกล็น โดเนียรี่ (Glenn Donaire) : นักมวย แชมป์ WBO เอเชียรุ่นฟลายเวท 


22. โรแลนโด โบฮอล (Rolando Bohol) : นักมวย แชมป์โลกรุ่นฟลายเวท IBF แชมป์ OPBF รุ่นซูเปอร์ฟลายเวท


23. เอดูอาร์โด้ บวีนาวิสตา (Eduardo Buenavista) : เป็นนักวิ่งระยะไกลชาวฟิลิปปินส์และนักกีฬา

โอลิมปิกสองสมัย 


24. มาร์เซลิโน่ กาลาตัส ( Marcelino Gálatas ) : นักฟุตบอลชาวสเปนที่เกิดในฟิลิปปินส์ เล่นให้กับ

 Athletic Bilbao, SD Deusto, Real Sociedad และAtlético Madrid


25. คาร์ลอส ยูโล (Carlos Yulo) : นักยิมนาสติกศิลป์ชาวฟิลิปปินส์ที่ได้รับรางวัลหลายเหรียญจาก 

World Artistic Gymnastics Championships


26. คาร์โล ปะอาลัม ( Carlo Paalam ) : นักมวยสมัครเล่นชาวฟิลิปปินส์ เขาเปิดตัวในโอลิมปิกและได้รับ

รางวัลเหรียญเงินในรุ่นฟลายเวทในโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้เขายัง

เป็นผู้ชนะเลิศเหรียญทองในซีเกมส์รุ่นไลท์ฟลายเวทครั้งที่ 30


27. ยูเมียร์ ฟีลิกซ์ มาร์เชียล ( Eumir Marcial ) : นักมวยสมัครเล่น เขาได้รับรางวัลเหรียญเงินจากการ

แข่งขันชิงแชมป์โลกปี 2019 และเหรียญทองแดงในโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 


28. เนสตี้ เปเตซิโอ้ (Nesthy Petecio) : เป็นนักมวยสากลสมัครเล่นชาวฟิลิปปินส์ เธอได้เหรียญเงิน

ในการแข่งขันรุ่นเฟเธอร์เวตหญิงครั้งแรกในโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 และกลายเป็นผู้หญิงฟิลิปปินส์คนแรก

ที่ได้เหรียญโอลิมปิกในการชกมวย เธอยังได้รับรางวัลเหรียญเงินในการแข่งขันชิงแชมป์โลกปี 2014 และ

เหรียญทองในปี 2019


29. อเล็กซ์ อีลา ( Alex Eala ) : นักเทนนิสเป็นอันดับ 2 ของ ITF รุ่นจูเนียร์ เป็นนักเล่นหญิงเดี่ยวชาว

ฟิลิปปินส์ที่มีอันดับสูงสุดในประวัติศาสตร์ WTA Tour คว้าแชมป์ประเภทจูเนียร์เดี่ยวรายการแรกในการ

แข่งขัน US Open ปี 2022 ทำให้เธอเป็นผู้เล่นฟิลิปปินส์คนแรกที่คว้าแชมป์รายการจูเนียร์แกรนด์สแลม

ประเภทเดี่ยว เกิดที่ เกซอน ซิตี้ เมืองหลวงเก่าที่สำคัญแห่งนึงขแองประเทศ


30. ยูกะ ซาโซะ ( Yuka Saso ) : เป็นนักกอล์ฟอาชีพชาวญี่ปุ่นที่เกิดในฟิลิปปินส์ เธอลงแข่งให้กับ

ฟิลิปปินส์โดยคว้าเหรียญทองแรกให้กับฟิลิปปินส์ในการแข่งขันกอล์ฟประเภทบุคคลหญิงและประเภททีม

หญิงในเอเชียนเกมส์


31. ไค ซัตโต ( Kai Sotto ) : เป็นนักบาสเก็ตบอลมืออาชีพชาวฟิลิปปินส์ของทีม Adelaide 36ers 

ของ Australian National Basketball League (NBL) ก่อนที่จะย้ายไปที่ The Skill Factory (TSF) 

ในเมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย





วันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

ประเทศในอาเซียน เป็นเจ้าภาพเอเชียนเกมส์กี่ครั้ง

 


ประเทศในอาเซียน เป็นเจ้าภาพเอเชียนเกมส์กี่ครั้ง

ประเทศในอาเซียน เป็นเจ้าภาพเอเชี่ยนเกมส์กี่ครั้ง


ประเทศในอาเซียนนอกจาก AFF แล้ว ก็มีซีเกมส์ หรือแม้แต่กีฬาโอลิมปิก มีเหรียญทองโอลิมปิกกันบ้าง 

แต่ถ้าจะให้นับยังมีระดับเอเชียอีกอย่างนึงนั้นก็คือ เอเชียนเกมส์ ที่ให้ชาติในอาเซียนได้แสดงฝีมือกัน 

และได้กันหลายเหรียญเช่นกัน แต่วันนี้เราจะมาดูกันว่าชาติในอาเซียนเรานั้น เป็นเจ้าภาพเอเชี่ยนเกมส์

กี่ครั้ง และมีกี่ประเทศในอาเซียนที่เคยจัดเป็นเจ้าภาพ และประเทศละกี่ครั้ง  มาดูกันเลย

ประเทศในอาเซียน เป็นเจ้าภาพเอเชียนเกมส์กี่ครั้ง


1. ไทย : 4 ครั้งเยอะสุด


- ครั้งที่ 5 ปี 1966 ที่กรุงเทพ 


- ครั้งที่ 6 ปี 1970 ที่กรุงเทพ  ( จัดสมัยปีติดแหะ )


- ครั้งที่ 8 ปี 1978 ที่กรุงเทพ


- ครั้งที่ 13 ปี 1998 ที่กรุงเทพ


* ไทยห่างจากการเป็นเจ้าภาพนานกว่า 15 ปีแล้วนะเนี่ย 


2. อินโดนีเซีย : 2 ครั้ง


- ครั้งที่ 4 ปี1962 อินโดนีเซีย จาการ์ตา  ประธานในตอนนั้นคือ วีรบุรุษ และ ผู้นำคนแรกของ

            อินโดนีเซีย อย่าง ประธานาธิบดี ซูการ์โน


- ครั้งที่18 ปี 2018 จาการ์ตา-ปาเลมบัง


3. ฟิลิปปินส์ : 1 ครั้ง


- ครั้งที่ 2 ฟิลิปปินส์ มะนิลา เมืองหลวงของประเทศในปี 1954 ครั้งที่2 ของการจัดเอเชียนเกมส์ 

            ครั้งแรกสุดจัดที่อินเดีย 



เดิมทีนั้น เวียดนามถูกวางตัวและได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพ เอเชียนเกมส์  ครั้งที่ 18 แต่มีเหตุอะไร

ไม่ทราบได้ ประกาศถอนตัวจากการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 18 ทำให้อินโด

รับหน้าที่นี้แทน น่าเสียดายที่ชาติจาก CLMV นั้นอาจจะได้จัดเป็นครั้งแรก แต่ก็ต้องมีเหตุให้ถอนตัวไป

ได้ ส่วน ปี2022 มีกำหนดจัดที่หางโจว ประเทศจีน แต่มีเรื่องโรคระบาดไวรัส โควิด19 เสียก่อน

จึงยังไม่ได้จัดแข่งขันยาวมาจนถึงตอนนี้